Interview With Saguan (2nd)

In this second interview, Saguan further discusses his university days, his friendship with Sawad Intarat, and his political activities.


บันทึกการพูดคุยทางโทรศัพท์กับสงวน พงษ์มณี

5 ธันวาคม 2564

ภูมิหลัง: ทำไมสวัสดิ์กับสงวนจึงสนิทกัน 

  • พ.ศ. 2507:  สงวนเป็นคนเชียงใหม่ สวัสดิ์สอบจากจังหวัดใกล้เคียง ทั้งสองคนเรียนจบม. 6 เดิม (เท่ากับม. 4  ปัจจุบัน) จากนั้นก็สอบเข้ามาเรียนที่วิทยาลัยครูในปีเดียวกัน สอบภาษาอังกฤษได้คะแนนไม่ค่อยดี จึงได้อยู่ห้อง 8 ด้วยกัน 

  • เด็กปีหนึ่ง ใส่กางเกงขาสั้น จะมีอยู่กลุ่มหนึ่งที่จับกลุ่มอยู่ด้วยกัน นั่งเล่นใต้ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งในวิทยาลัย เพราะมีชะตากรรมเดียวกัน คือไม่มีเงินกินข้าวกลางวัน ก็จับกลุ่มกินกล้วย กินขนมกันไป สวัสดิ์กับสงวนก็เป็นหนึ่งในนั้น 

  • สวัสดิ์เป็นคนที่หาเงินเก่งมาก เสาร์อาทิตย์ ต้องหางานทำตลอด ทำให้ไม่ได้ไปเรียนร.ด. รับจ้างถางหญ้าตามบ้านจัดสรร ได้เงินวันละ 8 บาท ทำ 2 วันก็ได้ 16 บาท ทั้งสองคนรวมกัน ก็ทำให้มีเงินกินข้าวพอไปทั้งอาทิตย์ ตอนนั้นเงิน 3 บาทก็สามารถกินอาหารสำหรับ 2 คนได้ 2 มื้อ 

    • พอถึงช่วงเมษา ก็จะมีงานปอย มีการจัดชกมวย เป็นมวย 3 ยก ชกก่อนเวลาคู่เอก ให้เงินยกละ 10 บาท 3 ยกก็ได้ 30 บาทถือว่าเป็นเงินก้อนใหญ่ สวัสดิ์ก็ไปต่อย จนวันนึง คู่ต่อสู้จะไม่ขึ้นชก เพราะเขาตัวเล็กกว่าสวัสดิ์มาก สวัสดิ์จึงบอกให้สงวนขึ้นชกแทน 

    • สงวนไปต่อยจนครั้งหนึ่งก็บาดเจ็บกลับมา สวัสดิ์กับเพื่อนอีกคนชื่อ พยุง อยู่เจริญ ไปบอกอาจารย์สุภาพ อาจารย์จึงห้ามไม่ให้ไปต่อยมวยอีก และให้เงินมา 300 บาท ซึ่งถือว่าเยอะมากตอนนั้น เอาไปเช่ารถขายไอศกรีมแทน 

  • ตั้งแต่สวัสดิ์มาอยู่เชียงใหม่ ไม่เคยพูดถึงเรื่องครอบครัวตัวเองที่ต่างจังหวัดอีกเลย จนกระทั่งวันหนึ่ง ไปเยี่ยมบ้านสงวนที่สารภีได้เจอกับแม่อุ๊ยคำผง แม่ของสงวน ก็ได้นับถือกันเป็นแม่ลูก เป็นพี่น้องกับลุงสงวน ใช้เวลาอยู่ด้วยกันจนเรียนจบวิทยาลัยครูตั้งแต่ปีพ.ศ. 2508-2510 เมื่อเรียนจบ ทั้งสองก็ได้บรรจุเข้าทำงานเป็นครูที่อำเภอหางดง 

  • ตอนนั้น ทั้งคู่ได้รู้จักกับครูฉไน จักคำมา คนหางดง ก็ได้แนะนำให้ทั้งคู่ไปเรียนที่ธรรมศาสตร์ ก็ไปสอบเรียนนิติศาสตร์ภาคค่ำได้แล้ว แต่หาวัดอยู่ไม่ได้ ก็เลยต้องกลับมาที่เชียงใหม่เหมือนเดิม 

  • ปี 2510 สงวนบวช สึกออกมาแล้วก็มาทำงาน แต่เศรษฐกิจไม่ดี ได้เงินเดือน 600 บาท ต้องผ่อนมอเตอร์ไซค์เดือนละ 300 กว่าบาท สรุปสิ้นเดือน เงินไม่พอใช้ ต้องไปกู้เงินมากินอยู่เดือนละ  300 บาท ตอนนั้นเขาจึงตัดสินใจสมัครไปรบที่เวียดนาม “ถ้าไม่ตาย กลับมาได้เงิน 8,000 บาท ถ้าตาย แม่ก็ได้ 40,000” ไปรบที่เวียดนามปีครึ่ง กลับมาได้เงิน 8,000 สงวนแบ่งให้สวัสดิ์ 2,000 บาท 

    • ตอนนั้น สวัสดิ์ไม่ได้ไป เพราะคลาดกันตอนเปิดรับสมัคร 

    • ต่อมาจะไปอีกรอบที่ลาว แต่สวัสดิ์ไม่ผ่านเกณฑ์ เพราะไม่มีประสบการณ์ ทางการจะรับเฉพาะคนที่เคยผ่านสมรภูมิเวียดนามมาแล้วเท่านั้น สงวนจึงตัดสินใจไม่ไปด้วย “ถ้าได้ไป คงไม่ได้กลับมาแล้ว คงตายกันหมด เพราะชุดนั้นไม่มีใครได้กลับมากันสักคน เค้าให้ไปขับเครื่องบิน t-28”

  • การไปรบที่เวียดนาม: ตอนนั้นเป็นโครงการของอเมริกา หาทหารรับจ้างไทย ไปรบที่เวียดนาม สงวนไปและกลับมาในปี 14 พร้อมกับความรู้สึกเกลียดชังอเมริกา เพราะได้เห็นว่าอเมริกามายกกำลังจากเราไป ใช้ทหารอาสาคนไทยให้ไประเบิดประเทศเพื่อนบ้าน เกิดความไม่เป็นธรรมต่อคนในประเทศดังกล่าว 

    • Justmac ควบคุมประเทศไทย

    • Youth… ทำการโฆษณาข่าวสารต่อต้านคอมมิวนิสต์ 

  • ต่อมา ปี 2515 สงวนก็แต่งงาน 

  • สวัสดิ์ตอนนั้นทำงานอยู่ที่บ้านแสนตอ อ.หางดง ซึ่งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำงานบนที่นาของส.ส.เชียงใหม่คนหนึ่งจากพรรคประชาธิปัตย์ชื่อ วรศักดิ์ นิมานันท์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินกว่า 600 ไร่ ในตอนนั้น ชาวนาทำนาและแบ่งผลผลิตกับเจ้าของที่นา 50:50 ในขณะที่ในภาคอีสานและภาคกลาง เจ้าของที่นาได้รับผลผลิตเพียง 1/3 เท่านั้น 

  • ตอนนั้น ชาวนาเลือกอินสอน บัวเขียว จากพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย 2517 อินสอนได้รับการเลือกตั้ง โดยการสนับสนุนของกลุ่มครูประชาบาลที่ทำงานกับชาวนา 

  • เข้าสู่การเมือง: สงวนมีคนที่รู้จักที่ได้เรียนธรรมศาสตร์และมีหนังสือหัวก้าวหน้ามาแนะนำตลอด จึงได้คุยกันเรื่องการเมืองตลอด เช่น หนังสือ เรื่องปีศาจ ของเสนีย์ เสาวพงษ์ จากนั้นก็เริ่มเคลื่อนไหว 

กลุ่มครูประชาบาลเพื่อประชาชนกับเหตุการณ์การล้อมเผาที่โรงเรียนบ้านต้นแก้ว ราว ๆ เดือนพ.ค.ปี 2518 

  • ตำแหน่ง: ชัชวาล นิลประยูร ประธาน, สงวน รองประธาน, สวัสดิ์ เลขา, ณรงค์ผู้ประสานงาน 

  • งานสัมมนาที่โรงเรียนบ้านต้นแก้ว สวัสดิ์เป็นเลขา ดูแลเรื่องประสานงานต่าง ๆ ส่วนประธานและรอง เป็นคนดูแลเรื่องเนื้อหา งานถูกประกาศเชิญชวนอย่างเปิดเผยโดยมีชื่อพ่อเป็นผู้รับผิดชอบอย่างโจ่งแจ้ง และรับราชการครูอยู่ตอนนั้น ในขณะที่สงวนเป็นนศ. มช. อยู่ 

  • งานนี้เป็นงานใหญ่ มีคนมานับร้อยคน และมีอาจารย์จากกรุงเทพมาให้ความรู้ ดร. บุญเย็น วอทอง (ซึ่งในที่สุดก็ได้ลี้ภัยไปที่ลาว จนกระทั่งเสียชีวิตที่นั่น) 

  • เนื้อหา: มาร์กซิส วัตถุนิยมวิภาษวิธี, หนังสือของอ. อนุต อาภาภิรมย์, หนังสือของฝ่ายซ้าย ”วิทยาศาสตร์สังคม” เป็นต้น  

  • ตั้งแต่หัวค่ำ มีการล้อมเผาจากกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ตำรวจตชด. ทหาร จำนวน 200-300 กว่าคน รถยนต์ของอ. บุญเย็น รถมอเตอร์ไซค์ของสงวนก็โดนเผา ตอนนั้นก็คือ ล้อมจากข้างนอก คนข้างในต้องปิดประตูขังตัวเองไว้ในโรงเรียนที่เป็นรูปตัว L คนที่ล้อมอยู่ข้างนอกก็คงรู้ว่าถ้าบุกเข้ามาก็คงจะโดนยิงสวนแน่ๆ จนตอนเช้ารุ่งสางก็ถูกจับ ค้นสถานที่พบปืนไม่มีทะเบียนซึ่งไม่มีใครยอมรับเป็นเจ้าของ แต่สงวนซึ่งมีปืนมีทะเบียนก็โดนยึดไป แต่สุดท้ายก็คืนให้ ตอนนั้น สวัสดิ์ สงวน และเพื่อนอีกคนหนึ่งก็ขังตัวเองอยู่ในห้องด้วยกัน 

  • ความเป็นมาของการจัดสัมมนา: กลุ่มครูประชาบาลเพื่อประชาชนได้เข้าไปร่วมกับศนท. ปีกที่ดูแลครู สวัสดิ์ซึ่งเป็นเลขาจึงอาสาจะจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ชาวนาและผู้สนใจในพื้นที่ดำเนินงานของตนเอง ในตอนแรกจัดที่บ้านสันผักหวานก่อน ต่อมาถึงงานที่สวัสดิ์เป็นผู้รับผิดชอบจึงจัดใหญ่ ก็ถูกเล่นงานเข้าอย่างจังอย่างที่เกิดขึ้น 

  • “คืนนั้น ถ้าพวกครูไม่มีสติ คงจะมีคนตายอย่างน้อย 10-20 คน”

  • ผลที่ตามมาจากการล้อมเผาในครั้งนั้น คือ สวัสดิ์ซึ่งมีชื่ออยู่ในประกาศจัดงานอย่างเปิดเผยก็ถูกเพ่งเล็งอย่างหนัก สวัสดิ์ปรึกษาหารือกับสงวน จนในที่สุดก็ต้องตัดสินใจออกจากราชการ  และมาเรียนต่อที่พิษณุโลก แต่ขณะนั้น สงวนเป็นนศ. จึงไม่ได้รับผลกระทบมาก ส่วนผู้นำชาวนาต่อมาถ้าไม่ถูกฆ่าตาย ก็หนีเข้าป่ากันไปหมด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึง ตุลา 19 มีผู้นำชาวนาและครูถูกฆ่าตายไป 27 คน 

  • ครูสังข์ทอง + พ่อหลวงอินถา ถูกยิงตายในวันเดียวกัน

  • “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” กิตติวุฒโท และ ทมยันตี + ดร. วัฒนา เขียววิมล ปลุกระดมให้เกลียดนักศึกษาผ่านวิทยุยานเกราะ ก่อนหน้าและนำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

  • ปี 2519: สงวนแต่งงานแล้วและมีลูกชายอายุ 2 ขวบกว่า ได้ไปร่วมชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ แต่เพราะลูกไม่สบายจึงพากันออกมาก่อนตั้งแต่วันที่ 3 ทำให้แคล้วคลาดหวุดหวิด แต่หลังจากที่ถูกลอบทำร้ายครั้งที่ 2 ก็ตัดสินใจหนีเข้าป่าไป พอสงวนออกจากป่ามา สวัสดิ์ก็แต่งงานกับพนิดาแล้ว 

  • สวัสดิ์และสงวนไม่กล้าคุยเรื่องการเมืองให้พนิดารู้ ตั้งแต่สงวนออกจากป่ามาก็ถูกเล่นงานตลอด ไม่กล้าไปเจอกันให้พนิดาเห็น กลัวว่าพนิดาจะเข้าใจผิดหรือตกใจต่าง ๆ นานา แต่ทั้งสองคนก็ยังแอบติดต่อกันเสมอ ๆ จนกระทั่งสวัสดิ์เสียชีวิตอย่างกะทันหัน  ก่อนที่สวัสดิ์จะเสีย ทั้งสองก็ขาดการติดต่อกันไปราว 3  เดือน จนวันสุดท้ายงานศพ ถึงได้รู้ สงวนเดินทางมาร่วมงานศพทั้ง ๆ ที่ใส่เสื้อลาย “การตายของสวัสดิ์ทำให้ลุงใจสลาย เป็นเรื่องที่เศร้ามาก” สงวนนั่งเผาศพอยู่กับไพทูรย์ จน 3 ทุ่มกว่า “hurt อย่างหนักเลย ต่อสู้มาด้วยกัน ผ่านอะไรมาด้วยกันมากมาย ทำไมจากไปง่ายดายอย่างนี้”

    • “พ่อของหนูมีใจเป็นนักปฏิวัติ ใจของเขาอยู่กับชาวบ้านตลอดเวลา แม้ว่าตัวจะอยู่บ้านกับลูกกับแม่ของลูกก็ตาม”  

    • ตอนปี 31 ที่สวัสดิ์เสียชีวิตลง สงวนทำธุรกิจรับจ้างทำสนามกอล์ฟอยู่ ไม่ได้รับราชการครูแล้ว 

  • หลังออกมาจากป่ากันแล้ว สวัสดิ์ก็มักจะมานั่งคุยทบทวนชีวิตกันกับเพื่อนอยู่เสมอ สวัสดิ์เป็นคนที่อยากเรียนหนังสือแต่ไม่มีเงิน 

  • เมื่อถามว่าสวัสดิ์และสงวนเสียใจหรือไม่ หลังจากที่เกิดเรื่องร้าย ๆ กับตัวเองนับไม่ถ้วน เพราะการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพวกเขา สงวนตอบว่า “ไม่เคยเสียใจที่เคยได้ทำในวันนั้น เพราะเราได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว” ยกตัวอย่างที่โปแลนด์ซึ่งคนรุ่นหลังยกย่องว่าการที่ช่วยคนยิวนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว “ชาวนาต้องการแบ่งข้าวให้เหมือนที่ภาคกลาง เป็นเรื่องผิดตรงไหน” 

  • เมื่อถามว่าอยากเปิดเผยแค่ไหน: “ไม่มีอะไรต้องสูญเสีย ประวัติศาสตร์ไทยมีแต่เรื่องของเจ้าของนาย กษัตริย์การรบของผู้ชนะ ไม่มีเรื่องการกินการอยู่ของผู้คน”

  • “สวัสดิ์มีอย่างนึงที่เราไม่เคยทำได้คือ การแบ่งภาค สวัสดิ์รักแม่ของหนูมาก ไม่กล้าทำให้ผิดหวัง เมื่อก่อนตอนมาเที่ยวบ้านลุงที่สารภี ก็ชอบแวะไปหาแม่ด้วย ขี่มอไซค์ไปคนเดียว ไม่ยอมให้เพื่อนตามไป เพื่อนก็โห่แซวทุกครั้งไป แม้จะมาอยู่ที่บ้านลุง กินนอนด้วยกันแล้ว ก็ไม่ยอมบอกแม่ว่ามาอยู่ที่สารภีบ้านลุง ถ้าใครพูดถึงชื่อแม่ขึ้นมา พ่อก็จะลุกกลับบ้านทันที เขาเกรงใจแม่ของหนูขนาดนั้น” 

  • เกี่ยวกับสวัสดิ์ : มีครั้งหนึ่ง สมัยที่เรียนวิทยาลัยครู จะต้องสอบติดๆ กัน 3-4 วัน เงินไม่มีกินข้าวเพราะต้องเอาไปซื้ออุปกรณ์อะไรต่าง ๆ มีกล้วยเหลืออยู่ 1 เครือก็ค่อย ๆ กินกันไปแบบนั้น “ความรู้สึกเท่าเทียมกับคนอื่นมันเลยไม่มี ไม่กล้าจีบสาว เพราะรู้สึกว่าไม่มี แต่เราทุกคนไม่รู้สึกหดหู่ เราก็สนุกสนานอดทนกันไป” 

    • “สวัสดิ์เป็นคนที่ดีมากในสายตาพวกเรา แข็งแรง เป็นนักกีฬา อดทน เป็นแบบอย่างที่ดี ถ้าเขาหาเงินได้ 10 บาท ไม่มีทางที่คนคนนี้จะกินคนเดียวทั้ง 10 บาท จะต้องมีส่วนของเพื่อนพี่น้องที่ลำบากอยู่ด้วย” 

    • “เขาไม่พูดถึงครอบครัวเลย ตั้งแต่มาอยู่วิทยาลัยครูก็ไม่เคยกลับบ้านที่ต่างจังหวัดอีกเลย อยู่ที่นี่ดีกว่าอยู่ที่นั่น คนที่นี่เห็นเขาเป็นนักศึกษา เป็นครู เป็นนักกีฬา ใช้ชีวิตช่วยคนอื่นเป็นหลัก “เขาไม่สนใจว่าใครจะรักหรือเกลียดเขา เขาใช้ชีวิตของเขาเป็นอิสรชน แบบนั้น” 

  • การเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาบาลเพื่อประชาชน: การเคลื่อนไหวต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา ปี 18 เป็นงานแรก ต่อมาคือ เคลื่อนไหวเรื่องกฎหมายค่าเช่านา ซึ่งชาวนาในภาคเหนือไม่ได้รับความเป็นธรรม “พ่อยังต่อสู้มากกว่าลุงอีก ตอนแรกลุงยังไม่เห็นภาพ แต่สวัสดิ์อธิบายได้ชัดมาก เขาถามว่าทำไมกฎหมายค่าเช่านาที่บังคับใช้ที่ภาคกลาง จึงไม่สามารถใช้ที่ภาคเหนือได้ หรือเป็นเพราะเจ้าของที่นาที่นี่เป็นส.ส.” “การแบ่งข้าวให้ชอบธรรมเป็นประชาธิปไตย แล้วทำไมการเคลื่อนไหวเพื่อความชอบธรรมนี้จึงกลายเป็นเรื่องผิดบาปไปได้” 

  • ธเนศ เจริญเมืองได้กล่าวปราศรัยทำให้ครูถึงกับตาสว่าง บอกว่า “เงินเดือนครูยังถูกกว่ายกทรงกางเกงใน” 

  • ต่อมามีกระแส “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” โดย พระกิตติวุฒโท ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวไม่มีทางเลือก ต้องจับอาวุธลุกขึ้นสู้ 


Tags & Keywords

Endnotes

None