Interview With Saguan (3rd)

In this third interview, Saguan discusses the Group of Local Teachers for People in detail.


========

สัมภาษณ์สงวน พงษ์มณี

5 กุมภาพันธ์ 2565

ณ บ้านพัก จังหวัดลำพูน

บันทึกโดย เพียรผจง อินต๊ะรัตน์

กลุ่มประชาบาลเพื่อประชาชน

  • การเลือกตั้งในปี 2517 มีลูกของครูอ้าย บัวเขียว ชื่อ อินสอน บัวเขียว ชนะการเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. เชียงใหม่ จากการสนับสนุนของชาวนาและครูในพื้นที่ ครูอ้าย เป็นครูใหญ่ในเขตพื้นที่ที่สวัสดิ์กับสงวนทำงานอยู่ ทั้งสองคนนับถือครูอ้ายมาก จึงไปช่วยงานการเมืองให้อินสอน ต่อมา อินสอน ลาออกจากการเป็นส.ส. ให้ อ.บุญสนอง บุญโยทยาน มาลงแทน สวัสดิ์และสงวนก็ได้ช่วยต่อ ดร.บุญสนอง ไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่เขาและภรรยาก็มีอิทธิพลทางความคิดต่อทั้งสงวนและสวัสดิ์ 

  • หลังการเลือกตั้ง และอินสอนได้เป็นส.ส. มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สำคัญ คือการก่อตั้งสหพันธ์ชาวไร่ชาวนาภาคเหนือ ซึ่งเป็นสาขาของสหพันธ์ชาวไร่ชาวนาแห่งประเทศไทย อินสอน, สวัสดิ์, สงวน, และณรงค์ได้คุยกันและเห็นสมควรจัดตั้งองค์กรทางการเมืองของครู เพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์ของครูให้เหมือนสหพันธ์ชาวไร่ชาวนา 

  • ณรงค์เป็นผู้ประสานงาน ให้ครูนักเคลื่อนไหวฝ่ายเหนือ คือ ชัชวาล นิลประยูร (จบรัฐศาสตร์ ม.ช. แต่มาเป็นครู) ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ทางตอนเหนือของเชียงใหม่ ได้มาพบกับ สงวนและสวัสดิ์ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ทางใต้ของเชียงใหม่ และเกิดเป็นกลุ่มที่ต่อมาตั้งชื่อว่า “ประชาบาลเพื่อประชาชน” (ปป.)

    • ชัชวาล เป็นประธาน

    • สงวน รองประธาน

    • สวัสดิ์ เลขา

    • ณรงค์ ผู้ประสานงาน

  • ในช่วงแรก นศ. เข้าไปในพื้นที่เพื่อทำงานทางความคิดกับชาวนาของสหพันธ์ แต่เมื่อถึงปี 18 มีนศ. ถูกฆ่าตายที่อีสาน (อมเรศ ไชยสะอาด ตามข่าวบอกว่าก.พ. ปี 19 ซึ่งมีนศ.ที่ถูกทำร้ายเสียชีวิตก่อนหน้านั้นแล้วหลายคน) แนวทางการดำเนินงานจึงเปลี่ยนเป็นให้ครูเข้าไปในพื้นที่แทน เพราะครูอยู่ในชุมชนอยู่แล้ว จะเคลื่อนไหวได้สะดวกมากกว่า ในพื้นที่ภาคเหนือ จึงให้กลุ่มประชาบาลเพื่อประชาชน ทำงานในพื้นที่แทนนักศึกษา 

  • สหพันธ์ชาวไร่ชาวนา ในพื้นที่บ้านแสนตอ อ. หางดง มีที่ดินของส.ส. วรศักดิ์ นิมานนันท์ กว่า 600 ไร่ ซึ่งผู้เช่านาต้องจ่ายค่าเช่านาในอัตรา 50/50 แทนที่จะเป็น 2:1 ตามที่กฎหมายค่าเช่านาได้ออกไว้ ซึ่งบังคับใช้ทั่วประเทศยกเว้น 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน สวัสดิ์และสงวนจึงศึกษาบทเรียนของทั้งประเทศ และ วางแผนให้ชาวนาได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนั้น ต่อมาเมื่อชาวนาเรียกร้องเช่นนั้น เจ้าของที่ดินก็ต้องยินยอมตามไปด้วย แต่ผู้ที่เสียผลประโยชน์ก็ได้โต้กลับ ด้วยการขึ้นป้ายขับไล่ผู้นำชาวนาและครูจากกลุ่ม ปป. ด้วยข้อหาที่ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ 

  • พระกิตติวุฒโท ออกมาเทศน์ว่า ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป ทำให้กระแสความรุนแรงต่อฝ่ายซ้ายเพิ่มขึ้น

  • พ่อหลวงอินถา ครูสังข์ทอง ถูกสังหารในวันเดียวกัน ในช่วงก่อน 6 ตุลา 19 มีครูถูกสังหาร1 คน ผู้นำชาวนาในภาคเหนือถูกสังหารไปถึง 27 คน ซึ่งตอนหลังมาทราบมาว่ามากกว่านี้

เหตุการณ์บ้านต้นแก้ว

  • ท่ามกลางกระแสความรุนแรงของ ขวาพิฆาตซ้าย กลุ่ม ปป. เห็นว่าครูจำเป็นต้องประสานกับนักเคลื่อนไหวทั่วประเทศ จึงได้ร่วมสัมมนาที่โพธาราม จ.ราชบุรี มีนศ. ครู ชาวนา และมีอาจารย์หลายท่านเป็นวิทยากร 

  • มีการสัมมนาก่อนที่อ.หางดง  --- แล้วก็โพธาราม จฦราชบุรี แล้วก็กลับมาที่บ้านต้นแก้ว อีกที มีการเตรียมตัวล่วงหน้าราว ๆ 2 เดือน 

  • ผู้รับผิดชอบการจัดสัมมนาที่บ้านต้นแก้ว คือ เลขาฯของกลุ่ม ก็คือ สวัสดิ์ มีวิทยากรรับเชิญคือ อ.บุญเย็น วอทอง 

  • การจัดสัมมนาในครั้งนั้น ไม่ได้เป็นงานเปิด แต่ได้ส่งหนังสือเชิญถึงผู้นำชาวนา ครูต่าง ๆ นักวิชาการจากกรุงเทพ จำนวน 100 กว่าคน ร้อยละ 70 เป็นผู้นำชาวนา ในหนังสือเชิญที่ลงนามโดยสวัสดิ์ ได้มีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของการสัมมนา ได้แก่ 

    • 1. ทฤษฎีทางการเมือง วัตถุนิยมวิภาษวิธี เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ 

    • 2. ค.คิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ของ อนุช อาภาภิรมญ์

    • 3. วิวัฒนาการสังคมของโลก พูดถึงเรื่องอุดมการณ์

ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดนี้ ฝ่ายความมั่นคงของไทยรับไม่ได้ เพราะเป็นความคิดของนักปฏิวัติสำคัญ 2 คน คือ เหมาเจ๋อตุงและเลนิน เอกสารนี้ได้หลุดออกไปถึงฝ่ายความมั่นคงของไทย และสงวนเชื่อว่านั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ฝ่ายขวา ไม่สามารถปล่อยให้มีการสัมมนาต่อไปได้ และต้องทำลายงานก่อนที่เนื้อหาจะถูกเผยแพร่ 

  • รถยนต์ มอเตอไซค์ ของผู้เข้าร่วม ถูกเผาบ้าง หายไปบ้าง สงวนเล่าว่า คณะทำงานได้เข้ามาเตรียมพื้นที่ก่อนล่วงหน้า 1 วันแล้ว พอพลบค่ำ หลังจากที่ผู้เข้าร่วมรับประทานอาหารเย็นเสร็จจากเต้นท์กลางแจ้งแล้ว ก็ได้ย้ายเข้ามาสัมมนาต่อในตัวอาคาร พอเริ่มพูดได้ประมาณ 10 นาที กลุ่มลูกเสือชาวบ้านจังหวัดลำพูน และเชียงใหม่ พลเรือนฝ่ายขวาที่จัดตั้งโดยรัฐ ก็ได้บุกเข้ามา มากันเป็นคันรถ ใช้อาวุธปืนระดมยิงจากด้านนอก ซึ่งโชคที่ดีผู้เข้าร่วมอยู่ในอาคารที่มีความมั่นคง จึงเอาชีวิตรอดมาได้ 

  • กลุ่มครูสมาชิก ปป.ที่อยู่ด้านนอกที่เข้ามาไม่ทัน เช่น วิสุทธิ์ ณ เชียงใหม่และคนอื่น ๆ  ก็ต้องรีบหนีออกไปซ่อนตัวในหมู่บ้านด้วยความช่วยเหลือของชาวบ้าน และได้ถูกพากลับเข้ามาทางด้านหลังอีกครั้งด้วยความช่วยเหลือของชาวบ้านอีกครั้งหนึ่ง 

  • เหตุการณ์ปิดล้อมดำเนินไปจนกระทั่งประมาณ ตีสอง ก็เริ่มซาลง ราวๆ 6 โมงเช้าก็มีกองกำลังที่เปิดเผยตัวของรัฐไปพาออกมา 

  • สงวนและสวัสดิ์ได้เข้าไปเก็บปลอกกระสุนจำนวนมาก (ราว ๆ 600 ปลอก) จากที่เกิดเหตุ เพื่อใช้เป็นหลักฐานแก่เจ้าหน้าที่/นายอำเภอว่าการปิดล้อมที่บ้านต้นแก้ว เป็นความรุนแรงที่จัดตั้งโดยรัฐ เพราะในขณะนั้น ปลอกกระสุนที่พบคือ เอ็ม16 ซึ่งเป็นอาวุธสงครามที่ใช้เฉพาะในราชการเท่านั้น สงวนซึ่งเคยเป็นทหารผ่านศึกมาก่อนจึงรู้ดี เขาคิดว่านี่เป็นสาเหตุที่ทำให้สวัสดิ์และสงวนถูกเพ่งเล็งอย่างหนัก 

  • เมื่อมองย้อนกลับไป สงวนคิดว่างานสัมมนาที่ต้นแก้วไม่ใช่งานเปิด แต่พวกเขาก็เปิดเผยเนื้อหาของการสัมมนาด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพราะเชื่อว่าการศึกษาแนวคิดทางสังคมนิยมควรเป็นเสรีภาพทางวิชาการที่สามารถทำได้ 

  • บ้านต้นแก้วเป็นพื้นที่ของสวัสดิ์และณรงค์

  • ในขณะที่เกิดเหตุ คนข้างในก็เตรียมสู้ คนที่มีปืนป้องกันตัว ปืนที่ถูกฎหมายก็เอาปืนมาเตรียมไว้ (สมัยก่อนการพกปืนระหว่างเดินทางก็เป็นเรื่องปกติ ถ้าเป็นปืนที่มีใบอนุญาต) แม้ว่าหลังจากนั้นจะมีปืนที่ไม่มีทะเบียนอยู่ร่าว 6-7 กระบอกด้วยก็ตาม เมื่อตำรวจมาก็เข้ามา ให้คนที่มีปืนเอาปืนออกมา จากนั้นก็พาไปโรงพัก สงวนบอกว่าหางดง สันติบอกโรงพักกองเมือง---อาจจะโดนแยกสอบ?) ทั้งหมดถูกสอบอยู่ราว ๆ 5-6 ชั่วโมงก็ถูกปล่อยตัวออกมาก่อนพลบค่ำของวันนั้น 

  • ตอนหลัง กลุ่มแกนนำเชื่อว่ามีหนอนบ่อนไส้ เพราะมีสมาชิกกลุ่มที่เป็นครูคนหนึ่งได้กระโดดหนีออกไปทางหน้าต่างแล้วจากนั้นก็หายตัวไปจากวงเพื่อนสมาชิกกลุ่ม ปป. โดยสิ้นเชิง หลังจากที่ชีวิตของทุกคนพลิกผันจากเหตุการณ์ทางการเมือง เพื่อนครูผู้นี้ก็ได้รับการโยกย้ายข้ามเขตแบบไม่ธรรมดาจากอำเภอรอบนอกของจังหวัดเชียงใหม่ เข้ามาในตัวเมืองภายในการโยกย้ายครั้งเดียว ซึ่งถือได้ว่าเป็นเหมือนการได้เลื่อนตำแหน่ง สวนทางกับคนอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มและชีวิตต้องพลิกผันไปในทางตรงกันข้าม 

  • สงวนเล่าว่าหลังจากเหตุการณ์ที่บ้านต้นแก้ว กลุ่มปป. ก็ยิ่งขยายตัว แต่เคลื่อนลงไปใต้ดินแทน “การเคลื่อนไหนถึงเลือดถึงเนื้อมาโดยตลอด” ในงานศพของพ่อหลวงอินถา  กลุ่มปป. โดยสงวน สวัสดิ์และชัชวาลไปวางพวงหรีดที่เรียกเสียงฮือฮาจากนักข่าว เพราะบนหรีดนั้นเขียนไว้ว่า “เลือดต้องล้างด้วยเลือด” เหตุการณ์ที่ต้นแก้ว ทำให้กลุ่มคิดว่าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากลุกขึ้นสู้ เพราะอยู่เฉย ๆ ก็คงจะถูกฆ่าตายเป็นแน่ 

  • ในกลุ่มมีการพูดถึงความเป็นไปได้ที่จะเข้าป่า สวัสดิ์คิดว่าจะสู้อยู่ที่เดิม แต่เพื่อน ๆ มองเห็นแล้วว่าเขาไม่น่าจะอยู่ได้ คงจะต้องถูกฆ่าตายสักวันแน่ ๆ สวัสดิ์จึงลาออกจากราชการ และออกจากพื้นที่เพื่อไปเรียนต่อที่พิษณุโลก สงวนจำได้ว่าราว ๆ ปี 19 คือ สวัสดิ์ไม่อยู่ที่เชียงใหม่แล้ว 

  • หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 สงวนถูกควบคุมตัวในวันที่ 17 ตุลาคม เขาถูกควบคุมตัวอยู่ราว ๆ 1 เดือน และได้รับประกันตัวออกมาในปลายเดือนพฤศจิกายน และได้ไปสอบไล่วิชาสุดท้ายที่ม.ช. เมื่ออกมาแล้ว สงวนถูกยิงที่หน้าโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ได้รับบาดเจ็บที่ขา เขาหลบซ่อนตัวอยู่อีก 15 วัน แต่ก็ยังถูกลอบยิง ได้รับบาดเจ็บอีกครั้ง สงวนตัดสินเข้าเข้าป่าไปร่วมพคท. ในเดือนมกราคม 2520 เขาไม่ได้พบสวัสดิ์อีกเลยจนกระทั่งออกจากป่าในปี 2524

  • สงวนรู้ว่าสวัสดิ์ถูกควบคุมตัวที่พิษณุโลกหลังจากเขาราว ๆ 1 สัปดาห์ เพราะเขาเห็นข่าวนักเคลื่อนไหวถูกควบคุมตัวที่พิษณุโลก และในนั้นมีชื่อของสวัสดิ์อยู่ด้วย 

  • ในบรรดาสมาชิกกลุ่ม ปป. ทั้งหมด มีเพียงสวัสดิ์และสันติ ธรรมรักษาที่ไม่ได้เข้าป่าไป อันที่จริง ทางกลุ่มได้มีการพูดคุยกัน และเห็นร่วมว่าใครที่ยังสามารถปักหลักอยู่ในเมืองได้ก็ขอให้อยู่เพื่อทำงานในพื้นที่ต่อไป ซึ่งอยู่ในเมืองก็มีความเสี่ยงมากที่จะถูกสังหารทุกขณะ และไม่สามารถจับปืนได้โดยตรง มีอันตรายกว่าเพราะด้วยกระแสขวาพิฆาตซ้ายที่รุนแรงมากในขณะนั้น 

  • สงวนเล่าว่า หลังปี 19 กลุ่มปป.ที่เข้าป่าไป ก็ไปร่วมกับพคท. อย่างเต็มตัว ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินงานอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน 

    • ราบ 1 คือ ลำพูน เชียงใหม่ มีเลขาธิการ คือ สงวน ชัชวาล เป็นหนึ่งในคณะกรรมการ

    • ราบ 2  คือ ?? 

    • ราบ 3 เชียงราย อินทร, สมบัติ ณ สุนทร

ในขณะที่สวัสดิ์และสว่าง ได้เคลื่อนไหวเป็นแนวร่วมอยู่ข้างนอก/ในเมือง ด้วยเหตุนี้ การเคลื่อนไหวจึงได้รุนแรง เพราะมีเครือข่ายทั้งในและนอกป่า กลายเป็นกองกำลังติดอาวุธที่ต่อสู้กับรัฐ 

  • สงวนได้เข้าโรงเรียนการเมือง 7 สิงหา 

  • หลังจากป่าแตก อดีตกลุ่มปป. ก็ยังคงขับเคลื่อนอุดมการณ์ทางการเมืองอยู่ แต่เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นการต่อสู้ในระบบรัฐสภา สายหนึ่งที่เขาเข้าร่วมคือการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 (ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย--ผู้เขียน)  

  • ความภาคภูมิใจของสงวนในงานของกลุ่มปป. คือ กลุ่มสามารถปกป้องชีวิตของผู้นำชาวนาได้เป็นร้อย ๆ คน โดยไม่ถูกทำลายไป และปลุกกระแสให้ชาวนาในภาคเหนือได้ลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลและปกป้องสิทธิของตัวเอง 


Tags & Keywords

Endnotes

None