Panida Worrawong (pseudonym) discusses the impact of her husband’s leftist activism on her life in the 1970s in Thailand.
Panida Worrawong was her husband Sawad Intarat’s classmate at university. She did not know much about her husband’s political activism as they did not discuss politics at home. She faintly knew that he was involved with the leftist movement, and that others around him called him a communist. Many in the community believed he was being funded by foreign communist organizations, and she could not convince them otherwise despite their dire financial state. Though she did not have a proper understanding of the ideology, she developed a negative perception of communism from the media from her childhood. However, she understood that global politics was divided between the “left” and “right”.
When Sawad was arrested for organizing a leftist seminar at the university and became unable to work, Panida worked to support him and later fund his degree at a different university, for which he moved away. During his absence, she was advised by a colleague to destroy his political books, which she did to protect her family. Some time later, she was informed that her husband’s “fate was unknown” and took personal leave from work to visit the local army commander to locate him. She was eventually assured that he was still alive and brought to the detention center where he was being held. There she found him living in extremely poor conditions, malnourished. Enraged, she complained to the superintendent on his behalf. She also felt that her struggle to fund his education went to waste due to his incarceration.
However, she later heard from Sawad that the conditions at the detention center improved after her visit. They continued corresponding by mail until he graduated in 1978. Now a retired teacher, Panida fears that her daughter, who sympathizes with her father’s former associates and opposes the military government might face similar situations. The trauma of her husband’s persecution continues to haunt Panida, who worries that the same history might repeat itself.
Interview Transcription
Interviewee: Ms. Panida Worrawong, 72 years old, retired teacher
Interviewer: Phianphachong Intarat
Date interview: February 17th, 2021
===================
เพียรผจง: ที่พ่อไปเข้าร่วมกับเค้านี่คือพรรคคอมมิวนิสต์ไทยจริงๆใช่ไหม
พนิดา: ไม่รู้
เพียรผจง: แล้วมันคืออะไรแม่คิดว่าตอนนั้นพ่อเค้าทำอะไร
พนิดา: ก็สมัยนั้นแม่ก็ไม่ได้รู้อะไรนักหนาแต่ว่ามันมีความขัดแย้งทางการเมืองแล้วพวกที่เข้าไปมันมีพวกจีนกับรัสเซียไงที่เป็นคอมมิวนิสต์เนี่ยะทีนี้บางคนก็บอกว่าพ่อเนี่ยะได้รับเงินจากรัสเซียบ้างให้มาทำขบวนการแบบนี้ซึ่งความจริงมันไม่ใช่แบบนั้นไม่ได้รับเงินจ้างอะไรแบบนั้นลำบากจะตายห่า! (หัวเราะ) แล้วพวกที่ไปร่วมขบวนการเนี่ยะเค้าก็จะเรียกว่าฝ่ายซ้ายพวกหัวเอียงซ้ายส่วนพวกรัฐบาลก็จะเรียกว่าพวกฝ่ายขวาแล้วพวกฝ่ายขวาเนี่ยะก็จะมีอำนาจไงมีอำนานจอยู่ในมือพอเค้าเห็นว่าพวกนี้มันเริ่มเลยเถิด ก็เริ่มไล่ตะครุบละสิทีนี้ก็สมัยนั้นพวกธีรยุทธบุญมีอะไรนั่นพอมันเกิดเหตุตุลานั่นแล้วก็แตกกระเจิงกันไปหมดพวกที่เป็นแกนนำที่โดนยิงตายเรี่ยราดนั่นแกนนำก็หนีเข้าป่ากันไปหมดส่วนพ่ออยู่ที่เชียงใหม่ก็มาจัดอบรมอะไรก็ไม่รู้โดนเผาวุ่นวายไปหมดต้องมาหอบกันหนีไปแบบนั้น
เพียรผจง: แล้วแม่รู้ได้ยังไงว่าพ่อเข้าร่วมขบวนการกับเค้าพ่อบอกแม่เหรอ
พนิดา: ไม่บอกแม่จำไม่ได้ว่าตอนนั้นแม่รู้เรื่องราวได้ยังไงพ่อเค้าไม่เคยบอกแม่หรอกว่าไปเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวอะไรแบบนั้นแต่รู้ว่าตลอดเวลาที่อยู่ด้วยกันความคิดแม่กับความคิดพ่อไม่ตรงกันเลยแล้วก็เลยสัญญากันว่าห้ามคุยเรื่องการเมืองกันเพราะคุยกันเรื่องการเมืองเมื่อไหร่ก็ทะเลาะกันตลอดก็เลยเลิกคุยเค้าก็เลยไปทำอะไรของเค้าโดยที่แม่ไม่รู้เลยกว่าจะรู้ก็คือตอนที่เรื่องมันแดงแจ๋ขึ้นมาแล้วจนตำรวจมาไล่จับนั่นแหละพ่อเค้าไปทำอะไรบ้างแม่ก็ไม่รู้ (หัวเราะ) ตายแล้วลูกจะได้เรื่องอะไรไหมแม่ก็ไม่รู้อะไรสักอย่าง (หัวเราะ)
เพียรผจง: ไม่เป็นไรค่ะลูกไปเช็คใบทะเบียนสมรสของแม่มาแม่แต่งงานกับพ่อตอนปี 2518 คือพอแม่แต่งงานกับพ่อแม่ก็จดทะเบียนใช่ไหม
พนิดา: ไม่ใช่ก็อยู่ด้วยกันมาสักพักก่อนตอนแรกแม่ก็ไม่จดหรอกแต่พ่อก็บอกว่าไปจดเถอะ
เพียรผจง: ถ้าอย่างนั้น ถามแบบนี้ได้มั้ยว่าแม่ตกลงกับพ่อเมื่อไหร่ว่าไม่ต้องมาคุยเรื่องการเมืองเพราะความคิดเห็นไม่ตรงกัน
พนิดา: โอ้ยตั้งแต่ก่อนที่จะมีเรื่องมีราวนี่แล้วมันก็อยู่ด้วยกันมานานนับไม่ถูกหรอกก็เหมือนลูกกับแม่นี่แหละอย่างเวลาแม่อ่านหนังสือพิมพ์สยามรัฐสุดสัปดาห์พ่อเค้าก็อ่านอีกเล่มนึง
เพียรผจง: แล้วพ่ออ่านอะไร
พนิดา: ไม่รู้จำไม่ได้จำได้แต่ว่ามันตรงข้ามกันคุยกันเมื่อไหร่ก็ทะเลาะกันนั่นแหละก็เลยตกลงกันว่าเราจะไม่คุยเรื่องนี้กันแล้วพ่อเค้าก็เลยไปทำอะไรๆของเค้าที่แม่ไม่รู้ตอนนั้นพอคุยเรื่องการเมืองขึ้นมาก็ทะเลาะกันแล้วไงแม่ก็เลยบอกพ่อว่าพอแล้วไม่ต้องมาพูดเรื่องนี้กันอีกแล้วเพราะพูดไปก็ไม่ฟังกันเหมือนลูกกับแม่นี่แหละ (หัวเราะ)
เพียรผจง: ยกตัวอย่างเช่นตอนนี้ก็มีเรื่องที่เค้ารณรงค์ให้ยกเลิกบังคับใส่ชุดนักเรียนหรือยกเลิกมาตรา 112 ตอนนั้นเป็นเรื่องอะไรแม่จำได้ไหม
พนิดา: จำไม่ได้ตอนนั้นมันไม่ได้มีม็อบปัญญาอ่อนแบบสมัยนี้มันเรื่องใหญ่มันไปทางการเมืองอาจจะเกี่ยวกับนโยบายบริหารประเทศหรืออะไรสักอย่างจำไม่ได้เลยแล้วพวกนี้ก็เป็นพวกสังคมนิยมเค้าเรียกกันแบบนี้เป็นคอมมิวนิสต์เค้าก็เรียกสังคมนิยมแบบนี้
เพียรผจง: ตอนนั้นที่พ่อมาจีบแม่ใหม่ๆ ...
พนิดา: ไม่มี (เสียงสูง) ตอนนั้นยังไม่รู้อะไรเลยมาอยู่ด้วยกันตั้งนานกว่าจะรู้แม่คิดว่ามันเพิ่งจะเริ่มตอนที่พ่อไปร่วมอะไรกับเค้าตอนนั้นนะแหละตอนแรกๆก็ไม่รู้อะไรพอมาหลังๆพ่อก็เริ่มฟังเพลงจิตรภูมิศักดิ์เปิบข้าวทุกคราวคำอะไรนั่นสูจงจำเป็นอาจินต์อะไรนั่นนะแม่ก็คิดในใจว่า ‘เอ้ยพวกฟังเพลงแบบนี้มันหัวเอียงซ้ายนี่หว่า’แต่แม่ก็ไม่ได้สนใจอะไรก็ปล่อยเค้าฟังไปแต่แม่จำได้ครั้งสำคัญที่เล่าให้ลูกฟังตอนที่อยู่บ้านกาดนั่นแต่ว่าตอนที่แม่ไปอยู่บ้านกาดนั่นพ่อก็ออกจากราชการแล้วนั่นแหละเรื่องนั้นตอนนั้นมันก็ยาวแล้วตอนนั้นมันจะมีการประท้วงอะไรบางอย่างพ่อเค้าจะไปหรือไม่ไปยังไงแม่ก็ไม่รู้ก็ที่เค้าไปเรียนก็เพราะว่าหนีเรื่องพวกนี้แหละก็พอมันมีเรื่องมีราวขึ้นมาพ่อก็เลยต้องออกเพราะเค้าอยู่ไม่ได้แล้วถ้าอยู่ก็ต้องโดนเพ่งเล็ง
เพียรผจง: สรุปว่าเพราะไม่ได้คุยกันแม่ก็เริ่มรู้เองจากเพลงที่พ่อฟัง
พนิดา: ใช่ แล้วก็หนังสือที่พ่ออ่าน
เพียรผจง: เช่นหนังสืออะไรแม่จำได้ไหม
พนิดา: โอ้ยจำไม่ได้หรอกแม่เอาไปเผาทิ้งหมดแล้วเป็นลังๆเลย (หัวเราะ) หนังสือที่พ่อเอามาอ่านเป็นหนังสือพวกที่แบบเกี่ยวกับเชกูวาราอะไรแบบนี้“การต่อสู้ของเชกูวารา”อันนี้ที่แม่จำได้แล้วก็เรื่องอะไรไม่รู้เกี่ยวกับสังคมนิยมแม่ไม่รู้ดูแล้วปวดหัวเรื่องของจิตรภูมิศักดิ์อะไรแบบนี้แม่ก็เลยไม่ได้สนใจพวกหนังสือสังคมนิยมพวกหนังสือหัวเอียงซ้ายนั่นแหละสมัยก่อนที่เค้าเรียกกันแม่ไม่เคยอ่านหรอกหนังสือพวกนี้แต่รู้ว่าหนังสือพวกนี้มันจะโดนเพ่งเล็งแต่แม่ก็ไม่รู้หรอกนะแม่เอาไปเผาเพราะคนอื่นมาบอกอีกทีแม่ก็กลัวตอนนั้นก็อยู่คนเดียว
เพียรผจง: เดี๋ยวนะแล้วตอนนั้นคือยังไงคือจดทะเบียนแล้วก็ไม่ได้อยู่ด้วยกันเหรอ
พนิดา: อยู่สิตอนที่แม่ไปอยู่บ้านกาดนั่นมันตอนหลังแล้วแม่จำไม่ได้ว่าพ่อออกจากราชการครูเมื่อปีไหนแต่ก็ย้อนหลังไปจากที่เค้าเรียนจบประมาณ 2-3 ปีนั่นแหละช่วงนั่นแหละพอเค้าออกจากครูแม่ก็ให้เค้าไปสอบเข้าเรียนต่อภาคค่ำที่พิษณุโลก
เพียรผจง: คือแม่กับพ่อก็อยู่ด้วยกันมาตลอด?
พนิดา: เมื่อก่อนก็อยู่ด้วยกันที่สันป่าตองนี่แหละตอนแม่ไปอยู่บ้านกาดนี่คือเกิดเรื่องใหญ่โตแล้วพ่อลาออกไปเรียนต่อแล้วพ่อเค้าก็กลัวตายเหมือนกันเค้าบอกว่าต้องหนีตายแล้วแล้วแม่ก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นพ่อเค้าบอกว่าพวกเขาจะฆ่าพ่อแบบนี้แล้วเค้าก็หนีไปกรุงเทพครั้งนึงแม่ก็จำไม่ค่อยได้แต่ลุงณรงค์นี่แหละจะรู้ว่าพ่อเค้าหนีไปกรุงเทพแต่แม่รู้นะ [ว่าพ่อหนีไปกรุงเทพ] แล้วเค้าก็ทิ้งแม่ไว้ที่สันป่าตองนี่แหละแล้วตอนหลังลุงณรงค์นี่แหละที่มาเยี่ยมแม่เพราะสงสารแม่เค้าบอกว่าเห็นสภาพแม่แล้วก็เลยพาแม่ไปหาพ่อ
แล้วตอนนั้นก็รู้สึกว่าเค้าไปเป็นลูกน้องอาจารย์บุญเย็น [วอทอง] ตอนแรกดูเหมือนว่าเค้าจะเข้าป่าเข้าดอยอะไรกะเค้าแต่แม่ก็ไม่รู้เพราะทุกอย่างมันสับสนอลหม่านไปหมดก็แล้วแต่พ่อเค้าว่าเค้าจะเอายังไงเพราะตอนนั้นพ่อเค้าบอกเองว่าถ้าพ่อไม่หนีพวกเขาจะฆ่าพ่อเพราะตอนนั้นเค้าไปจัดประชุมอะไรก็ไม่รู้เกี่ยวกับคอมมะนิดคอมมะหน่อยอะไรนั่นเค้าก็เรียกกันแบบนี้แหละว่าคอมมิวนิสต์ “ไอ่หวัดคอมมิวนิสต์” เพราะตอนนั้นพ่อเค้าไปจัดอบรมอะไรไม่รู้ที่บ้านต้นแก้วแล้วโดนรุมซ้อมมานะสิเผาเอยไล่ฆ่าเอยพ่อเค้าก็กลัวตายนะสิพาแม่หนีไปหนีไปอยู่บ้านเพื่อนคนนึงหรือยังไงเนี่ยะแหละพอจบตอนนั้นแล้วแม่ก็จำไม่ได้แล้วสับสนไปหมดแต่ตอนนั้นพ่อยังไม่ได้ลาออกก็ยังเป็นครูอยู่นี่แหละแต่ว่าเค้าไปจัดอบรมอะไรนั่นไงแล้วก็มีคนที่แอนตี้มาไล่เค้าบอกว่ามันเป็นคอมมิวนิสต์มาจัดอบรมให้ชาวบ้านอะไรทำนองนั้นแม่ก็ไม่ได้ไปกะพ่อหรอกแม่ก็ไม่ได้ชอบอยู่แล้วเรื่องแบบนี้แม่ไม่สนใจ
เพียรผจง: แล้วแม่ไม่เคยห้ามเหรอแบบว่าจะโดนฆ่าหรือโดนตำรวจจับนะ
พนิดา: พ่อเค้าไม่เคยฟังแม่หรอกก็เหมือนลูกนั่นแหละ (หัวเราะ) แล้วแม่ก็ไม่รู้นี่นาว่ามันจะร้ายแรงขนาดนั้นที่บอกว่าจะถูกฆ่าพ่อก็พูดเองทั้งนั้นแม่ก็ฟังมาจากพ่อนี่แหละว่าเค้าจะถูกทำร้ายพ่อเค้าอาจจะระแวงเองก็ได้คนอื่นก็อาจจะไม่อะไรก็ได้แต่พ่อก็คิดไปแล้วกลัวตายตั้งแต่ที่ถูกทำร้ายที่ต้นแก้วก็คนเรามันก็เป็นแบบนี้ใช่ไหมพอมีเหตุการณ์ร้าย ๆก็กลัวตายขึ้นมาพ่อกลับมาตัวสั่นงันงกบอกให้แม่เก็บข้าวของบอกว่าจะต้องหนีเพราะมีคนจะมาเอาชีวิตแต่แม่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ตอนนั้นแม่ก็ไม่รู้ไงแต่พอพ่อมาบอกแบบนี้แม่ก็ได้แต่ตะลึงทำอะไรไม่ถูกพ่อบอกให้ไปก็ไปตามที่พ่อบอกก็หอบข้าวของล็อคบ้านแล้วก็หนีไปแม่ก็จำไม่ได้ว่าหนีไปที่ไหนสักที่นึง
ตอนนั้นพ่อก็บอกว่าจะหนีเข้าป่าไปเหมือนคนอื่นแต่ก็ยังเป็นห่วงแม่ส่วนแม่ก็ช็อคไปไม่ใช่ว่าเศร้าโศกเสียใจหรืออะไรแต่อาจจะตกใจมากกว่าช็อคทำอะไรไม่ถูกเพราะแม่ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุจับต้นชนปลายไม่ถูกแม่ก็จับอารมณ์ตัวเองไม่ได้เหมือนกันบอกไม่ถูกเลยความรู้สึกมันเหมือนตอนที่พ่อเสียนั่นแหละช็อคทำอะไรไม่ถูกใครบอกให้ทำอะไรก็ทำหมดแม่ถึงจำไม่ได้ไงว่าอะไรเป็นอะไรมันตื้อไปหมดตอนนั้น
กระทั่งกลับมาได้สติอีกทีนึงที่จำได้คือตอนที่แม่ได้บรรจุที่บ้านกาดส่วนพ่อคิดว่าตอนนั้นลาออกจากครูไปแล้วนะเพราะอยู่ไม่ได้แล้วถูกเพ่งเล็งแล้วไงจริงก่อนหน้าที่จะมีเรื่องนั้นพ่อเพิ่งมาเล่าให้ฟังทีหลังว่าเค้ามีประท้วงอะไรกันบางอย่างแล้วพ่อก็จะขึ้นพูดปราศรัยตอนแรกแม่ก็บอกไปว่าแม่ไม่ชอบพวกนักการเมืองกับทนายความพอพ่อบอกว่าจะลาออกจากครูไปสมัครเป็นส.ส. แม่ก็เลยบอกว่าถ้าพ่อไปทำแบบนั้นจริงๆแม่ก็จะเลิกกับพ่อแน่ ๆเพราะแม่ไม่ชอบแต่พ่อก็บอกว่าพ่อจะไปประท้วงอะไรบางอย่างแต่ผู้จัดก็ไม่ให้ขึ้นพูดเพราะตอนนั้นพ่อยังเป็นครูอยู่แล้วมันก็มีกฎระเบียบอะไรอยู่ถ้าจะขึ้นพูดก็อาจจะผิดระเบียบจรรยาบรรณครูได้แต่เพราะแม่ไม่สนใจอะไรพวกนี้อยู่แล้วไงแม่ก็เลยไม่รู้ว่ามันคือประท้วงอะไรที่ไหนยังไง
แต่ถามว่าห้ามไหมก็ไม่ได้ห้ามก็เป็นเพราะแม่ไม่รู้ไงว่าพ่อเค้าไปทำอะไรที่ไหนยังไงบ้างแล้วอีกอย่างถ้าเป็นเรื่องการเมืองคือเราไม่เกี่ยวข้องกันแล้วผลกระทบของมันก็คือพอเกิดเรื่องขึ้นมาแม่ก็โดนลากเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยแบบนี้ไง
เพียรผจง: แล้วแม่โกรธไหมที่แบบพ่อเหมือนจะแกว่งเท้าหาเสี้ยนแบบนี้
พนิดา: ไม่โกรธก็มันช็อคมึนตื้อไปหมดแล้วตอนหลังๆพ่อก็เหมือนว่าจะเริ่มคิดได้ว่าตัวเองไม่มีทางที่จะไปต่อสู้กับเค้าได้เหมือนตัวเองเป็นไม้ซีกอีกพวกเค้าเป็นไม้ซุงแบบนั้นแล้วไอ้พวกผู้นำทั้งหลายก็พากันหนีเข้าป่าไปเหลือทิ้งไว้แต่พวกลูกกระจ๊อกทั้งหลายรับชะตากรรมอย่างทุกวันนี้เอาตัวรอดกันหมดเสกสรรประเสริฐกุลธีรยุทธบุญมีพวกที่เป็นแกนนำแม่ก็ไม่รู้นะพวกที่รับหลักการมาพวกที่เป็นหัวหน้าก็หนีเอาตัวรอดกันหมดเหลือไว้แต่พวกที่เป็นลูกกระจ๊อกแบบพ่อเรานั่งตัวสั่นอยู่แถวบ้านนี่แหละ (หัวเราะ) แม่พูดจริงนะพ่อนี่ตัวสั่นงันงกไปหมดแบบกลัวมากจริงๆ แม่นี่ยังไม่รู้สึกขนาดนั้นเลยไม่รู้ว่าเพราะช็อคไปแล้วหรือว่าอะไรหรืออาจจะสติแตกไปแล้วก็ได้แต่ไม่ได้กลัวตัวสั่นแบบพ่อเลย
แต่นั่นแหละมันก็มีช่วงนึงที่พ่อคงคิดได้จริงๆว่ามันไม่มีทางไปต่อแล้วมันถึงเวลาต้องยุติแล้วตอนนั้นพ่อเค้าก็ห่วงแม่ด้วยแหละตอนนั้นก็ยังไม่มีลูกไงพ่อเค้าก็ห่วงแม่ว่าจะอยู่คนเดียวยังไงเอาตัวไม่รอดแน่ๆกินข้าวกับปลาก็ยังต้องให้พ่อเอาก้างออกให้พ่อเค้าก็คงคิดดูก็สงสารแม่ด้วยแล้วก็ต้องยอมรับสภาพด้วยว่ามันทำอะไรไม่ได้แล้วอำนาจและทุกสิ่งทุกอย่างได้ถูกฝ่ายตรงข้ามควบคุมไว้หมดแล้วพูดตามตรงที่สำคัญคือพวกหัวหน้าทั้งหลายที่เต้นแร้งเต้นกาก่อนหน้านี้ก็หนีเอาตัวรอดไปหมดไปต่างประเทศอะไรแบบนี้เหลือทิ้งไว้แต่พวกลูกกระจ๊อก
เพียรผจง: อันนี้คือแม่ตีความเอาจากพฤติกรรมของพ่อที่ค่อยๆเปลี่ยนไปหรือพ่อมาคุยกับแม่บอกกับแม่ว่าเป็นแบบนี้
พนิดา: แม่ตีความเอาเพราะอย่างที่บอกไปแล้วไงว่าเราไม่พูดเรื่องการเมืองที่บ้านแต่พอแม่เห็นสภาพพ่อเป็นแบบนี้แม่ก็บอกพ่อเค้าไปว่า ‘พ่อลาออกจากราชการครูเถอะ’ตอนนั้นถ้าไม่ออกก็จะถูกเพ่งเล็งอย่างหนักบรรยากาศตอนนั้นคือมันซ้ายจัดกับขวาจัดถ้าอยู่ต่อตัวเองก็ต้องโดนหาเรื่องอยู่ตลอดถูกสันติบาลตามแม่ก็เลยบอกว่าให้ออกเถอะจะได้ไปให้พ้นหูพ้นตาพวกนี้แล้วก็ไปเรียนต่อปริญญาตรีภาคค่ำตอนนั้นทำงานก็ได้เงินน้อยเหลือเกินไม่พอกินไม่พอใช้เงินเดือนแม่นะ 1,750 บาทก็แบ่งไปให้พ่อใช้ตอนเรียนหนังสือมีคนถามว่าทำยังให้ให้พอใช้แม่ก็บอกบางทีมีเงินก็เอาให้คนอื่นกู้บ้างได้กินดอกเบี้ยเมื่อก่อนตอนอยู่บ้านกาดแม่นี่เป็นเจ้าแม่เงินกู้นะถ้าไม่งั้นจะเอาเงินจากไหนมาส่งเสียพ่อด้วย
ตอนนั้นถึงตัวพ่อไปเรียนต่อก็เถอะแต่ชื่อก็อยู่ในระบบของเค้าแล้วตัวมันอยู่ที่ไหนเค้าก็ตามไปที่นั่นแหละ ตอนนั้นก็เรียนไปสักพักอยู่ดีมีสุขแม่ก็อยู่ที่บ้านกาดอยู่บ้านพักครูจนกระทั่งวันนึงครูใหญ่ของแม่ก็เข้ามาถามถามว่า “พนิดาได้ข่าวคราวของแฟนบ้างไหม” แม่ก็ตอบไปว่าก็ได้ข่าวบ้างเรื่อยๆแม่ไม่รู้ว่าเค้าคิดอะไรก็ตอบไปตรงๆ แบบนั้นเค้าถามว่าได้รับจดหมายจากพ่อบ้างรึป่าวแม่ก็ตอบไปว่าเพิ่งได้รับเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาก็ไม่เห็นพ่อเค้าว่ายังไงจดหมายก็มาอยู่เรื่อยๆแต่แม่ก็งงว่าครูใหญ่มาถามถึงพ่อทำไมแม่ก็คิดว่าครูใหญ่คงอดสงสารแม่ไม่ได้ก็เลยบอกว่า “ข้างนอกเค้าลือกันว่าสวัสดิ์น่ะถูกตำรวจจับไปแล้วก็หายสาบสูญไปพนิดารู้ข่าวเรื่องนี้ไหม”
แม่ก็ไม่รู้เจ็บรู้ปวดอะไรทั้งนั้นเหมือนมันตกใจช็อคตะลึงงันทำอะไรไม่ถูกแม่จะเป็นคนแบบนี้พอมีข่าวอะไรก็จะตกใจไปแบบนี้ทีนี้ก็เป็นไปตามอัตโนมัติคิดอะไรออกก็ทำไปตามนั้นเลยก็เพราะเป็นแบบนี้พ่อเค้าก็เลยไม่อยากให้แม่ขับรถขี่รถอะไรแม่ก็เป็นลักษณะแบบนี้ถ้าถามว่าเสียใจไหมโกรธไหมแม่ก็ตอบไม่ได้แม่ก็ไม่รู้ตอนนั้นมันไม่รู้สึกรู้สมอะไรทั้งนั้น แล้วคนอื่นก็บอกว่านี่มันช็อคไปแล้ว
“แล้วพนิดาจะทำยังไงต่อไป” ครูใหญ่ถามแม่ก็ตอบไปว่าจะไปตามหา “ตามหาที่ไหน” แม่ก็บอกว่าที่พิษณุโลกเพราะพ่อเรียนอยู่ที่นั่นครูใหญ่ถามว่าไปได้ไหมแม่ก็ตอบไปว่าได้เพราะแม่ก็เคยเรียนอยู่ที่นั่นเหมือนกันครูใหญ่ก็อนุญาตให้ไปแม่ก็ไปทำเรื่องลางานเรียบร้อย
กลับมาที่บ้านพักน้าจำลองเพื่อนแม่ก็มาถามว่า “พี่พี่จะไปพิษณุโลกเหรอ” แม่ก็ตอบหน้าตาเฉยว่าอื้อไม่ยิ้มไม่ร้องไห้อะไรทั้งนั้นน้าแหวงถามว่า “พี่จะไปคนเดียวเหรอไปทำอะไร” แม่ก็ตอบไปว่า “พี่จะไปตามหาถ้าเค้าบอกว่าพี่สวัสดิ์ตายแล้วพี่ก็จะไปดูศพถ้ายังไม่ตายก็จะไปดูว่าเค้าอยู่ยังไง”
“แล้วถ้าพี่รู้แล้วพี่จะทำยังไงต่อไป”
“เสร็จแล้วพี่ก็จะกลับมา” (ระเบิดหัวเราะ) เนี่ยะเพื่อนที่ทำงานตอนนั้นมาบอกทีหลังว่า “พี่พนิดาพูดมาแบบนี้แล้วผมฟังแล้วไม่รู้จะพูดจะปลอบหรือจะช่วยไงดีเลย” น้าจำลองบอกว่าแม่ก็ไม่ได้ขอให้ช่วยหรือไปเป็นเพื่อนสักคำครั้นจะเอ่ยปากเสนอเองก็เกรงใจว่าจะมีเรื่องหึงหวงกันจะแย่ไปใหญ่ก็เลยต้องปล่อยให้ไปคนเดียวแบบนั้น
เพียรผจง: แม่คิดว่าทำไมพ่อถึงไปร่วมขบวนการฝ่ายซ้าย
พนิดา: แม่ไม่รู้นะว่าทำไมอยู่ๆเค้าถึงไปแบบนั้นแต่คนที่เค้าเรียนจิตวิทยามาเค้าก็อาจจะบอกว่าพื้นฐานชีวิตแบบพ่อเค้าเรียกว่าอะไรละเรียกว่ามีปมด้อยใช่หรือเปล่านะเพราะว่าพ่อเค้าถูกกดดันกดขี่มาตลอดชีวิตเพิ่งจะดีขึ้นตอนมาอยู่กับแม่นี่แหละ
เพียรผจง: แล้วตอนนั้นที่คนเริ่มตื่นตัวเรื่องความคิดแบบสังคมนิยมแม่ไม่รู้สึกเหรอว่ามันอาจจะทางออกที่เปลี่ยนชีวิตของคนที่ตกทุกข์ได้ยากจริงๆ
พนิดา: ไม่เลยแม่ไม่ได้คิดไม่ได้สนใจเลยแหละไม่สนใจเพราะอะไรก็ไม่รู้แต่ก็ไม่สนใจนั่นแหละแม่เป็นคนที่ไม่สนใจความคิดทางฝ่ายซ้ายนี่เลยแหละเพราะตอนเด็กๆแม่ฝังใจกับคำว่าคอมมิวนิสต์มากเลย (หัวเราะ) เมื่อก่อนนี้มันมีรูปที่บอกว่าพวกคอมมิวนิสต์เนี่ยะบังคับคนให้ทำงานหนักผอมซี่โครงบานด้วยความที่เป็นเด็กพอเห็นเข้าเค้าบอกว่าคอมมิวนิสต์ไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ทำเป็นรูปมาเลยว่าคอมมิวนิสต์เอาคนไปทรมานให้กินข้าวนิดเดียวให้ทำนาก่อนเสร็จแล้วก็เอาข้าวไปรวมกันหลังจากนั้นค่อยมาแบ่งอีกทีก็รู้อยู่เท่านี้คอมมิวนิสต์เป็นแบบนี้แล้วที่น่ากลัวที่สุดก็คือคนที่ผอมจนซี่โครงบานแบกของแทบไม่ไหวนี่แหละเพราะคอมมิวนิสต์บังคับด้วยความเป็นเด็กมันก็ฝังใจมาตลอดไงกลัวขนาดที่ว่าแม่คิดว่าถ้าคอมมิวนิสต์บุกเข้ามาที่ไทยแม่จะไปซ่อนอยู่ที่โพรงต้นไทรใหญ่ที่อยู่ตรงคิวรถลำพูนเมื่อก่อนนี้ มันเป็นต้นไม้ที่ใหญ่มากมีนกมีรังอะไรเต็มไปหมดตรงต้นก็มีรากย้อยมีโพรงไม้คิดว่าจะเข้าไปหลบอยู่ตรงนั้นพอโตมามันก็ฝังอยู่ในใจไม่ได้แยกแยะอะไรแล้วเพราะมันเห็นรูปพวกนั้นแม่ว่าถ้าลูกเป็นเด็กๆแล้วเห็นรูปพวกนั้นลูกก็ต้องกลัวเหมือนกันนั่นแหละ
เพียรผจง: แล้วแม่เห็นได้ยังไงใครเอาของแบบนี้มาให้ดู
พนิดา: ก็มันเป็นแผ่นโปสเตอร์ใหญ่ๆเค้าก็เอามาติดให้ดูนะสิบอกว่าคอมมิวนิสต์ไม่ดีไม่งั้นจะไปเห็นได้ไงมันก็เป็นรูปโปสเตอร์วาดนี่แหละแม่ก็จำไม่ได้ว่ามันขึ้นเป็นป้ายตามถนนรึยังว่ายังไงแต่จำได้แค่ว่ามาเห็นแล้วก็กลัวฝังใจนั่นแหละ
เพียรผจง: แล้วยายได้อธิบายอะไรให้แม่ฟังไหม
พนิดา: ไม่เลยแม่ก็ไม่ได้คุยกับใครไงก็แค่เห็นป้ายแล้วก็รู้สึกนึกคิดเอากับตัวเองไม่ได้คุยกับใครก็ไม่มีใครมาสั่งมาสอนอะไรไงมันก็เลยฝังหัวอยู่แบบนั้นคิดดูว่ากลัวขนาดไหนคิดว่าจะไปหลบคอมมิวนิสต์อยู่ในโพรงต้นไม้แม่ไม่รู้คนอื่นเค้าเป็นยังไงกันแต่แม่ก็กลัวอย่างที่เล่านี่แหละ
พียรผจง: แม่จำได้ไหมว่าแม่อายุเท่าไหร่ที่เริ่มมีความคิดแบบนี้แบบกลัวคอมมิวนิสต์
พนิดา: ก็คงสัก 5-6 ขวบได้ถ้าโตกว่านี้คงรู้เรื่องรู้ราวอะไรบ้างแล้วแต่เอาเป็นว่าไม่เกิน 10 ขวบละกันแม่จำได้ตอนนั้นยังไม่จบป.4 เลยยังเรียนโรงเรียนแถวบ้านอยู่เค้าก็คงเอาโปสเตอร์มาติดแผ่นสองแผ่นตามโรงเรียนก็ได้เห็นแบบนั้น
เพียรผจง: แล้วถ้าให้แม่มองย้อนกลับไปทำไมตอนนั้นเค้าต้องเอามาติดด้วยละ
พนิดา: ถ้าให้คิดก็คงแบบว่าตอนนั้นเราเป็นขวาไงประเทศไทยอะเป็นขวาแล้วจีนอย่างงี้เป็นซ้ายสมัยเหมาเจ๋อตุงมีรัสเซียด้วยเค้าบอกว่าคอมมิวนิสต์จีนนี่ยังดีแต่รัสเซียนี่โหดมาก
เพียรผจง: รัสเซียโหดยังไง
พนิดา: ก็ไม่รู้ไงเค้าบอกว่าโหดก็โหดก็เชื่อตามนั้นแต่ก็รู้แค่ว่าที่เมืองจีนเค้าก็แบ่งนาให้ทำทำเสร็จก็เอาผลผลิตไปรวมกันแล้วก็ค่อยแบ่งกันอีกทีแต่พอโตมานี่แหละก็ได้คิดเค้าบอกว่าคอมมิวนิสต์เท่าเทียมกันแต่มันไม่ใช่ที่เมืองจีนเค้าก็มีระดับต่างๆเหมือนกันเพราะฉะนั้นที่คนจนคนที่ลำบากก็จนก็ลำบากเหมือนเดิมพวกที่อยู่บนชนชั้นก็อยู่บนชนชั้นเหมือนเดิมส่วนเรื่องรัสเซียก็ไม่รู้รู้เรื่องจีนอยู่เท่านี้แหละเพราะเราไม่ได้ศึกษาเค้าว่าแบบนี้เราก็ว่าแบบนี้แหละ
แต่เรื่องจีนแม่ก็ไปอ่านบ้างศึกษาบ้างที่ว่าอยู่คอมมูนอะไรมันก็ไม่ได้มีอิสระก็คิดได้นั่นแหละเรื่องที่มีชนชั้นอยู่ดีคนที่อยู่ชนชั้นล่างก็ทำงานแทบตายสุดท้ายก็ต้องแบ่งคนอื่นไม่ได้เท่าเทียมกันทั่วเมืองจีน
เพียรผจง : แล้วมันมีเหตุการณ์ไหนไหมที่เกิดขึ้นแล้วแม่คิดว่านี่คือจุดสิ้นสุดของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพ่อและผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นกับแม่และครอบครัวจุดที่รู้สึกว่าหมดทุกข์หมดโศกกันเสียที
พนิดา: ตอนแรกก็รู้สึกว่าเริ่มดีขึ้นตอนที่พ่อลาออกจากราชครูไปเรียนต่อไงแต่ก็ดันมาโดนจับไปขังให้นุ่งผ้ากระสอบอีกแต่พอกลับมาพ่อเค้าก็คิดได้แล้วว่ายังไงก็ไปต่อไม่ไหว ผู้นำก็ไม่มีถ้าตัวเองจะทำต่อไปก็จะต้องกระทบตัวเองอีกพอกลับมาจากเรียนก็ไม่มีอะไรแล้วนะแต่ตอนย้ายบ้านมาอยู่ที่นี่คนก็ยังลือกันอยู่ว่า “ไอ้หวัดคอมมิวนิสต์” ย้ายมาอยู่ที่นี่ตอนนั้นลุงเอกพงษ์ไม่รู้ก็จุดไต้ตำตอคุยกับเพื่อนๆที่ทำงานแม่ว่าเอ้อไอ้หวัดคอมมิวนิสต์มันพาเมียมาอยู่ที่นี่น้าเกียรติศักดิ์ก็เลยบอกว่า “เมียไอ้หวัดคอมมิวนิสต์มันก็นั่งอยู่นี่ไง” (หัวเราะ) ลุงเอกพงษ์ก็ตกใจคือทุกคนต่างก็คาดไม่ถึงว่าคนเรียบร้อยเงียบๆ แบบแม่จะได้มาลงเอยกับคนแบบพ่อ
เพียรผจง: แบบพ่อนี่เป็นยังไง
พนิดา: โอ้ยร้ายเจ้าชู้มากตอนแม่คบกับพ่อมีคนมาบอกว่าให้เลิกกันซะจะดีกว่าเพราะพ่อไม่เคยจริงจังกับใคร
เพียรผจง: แล้วคนเค้าก็ลือกันว่าแม่เป็นเมียคอมมิวนิสต์แบบนี้เหรอ
พนิดา: ขนาดลุงชัยยังมาถามแม่เลยว่า “ถามจริงๆเถอะสวัสดิ์ได้เงินค่าจ้างเท่าไหร่”
“ค่าจ้างอะไร”
“ก็ค่าจ้างที่มาเป็นหัวเอียงซ้ายแบบนี้”
“ค่าจ้างอะไรกันล่ะนี่ก็ลำบากจะตายอยู่แล้วขนาดไปเรียนหนังสือที่พิษณุโลกยังต้องมาขอแบ่งเงินเดือนฉันไปใช้เลยถ้าได้เงินทองอะไรอย่างที่เค้าว่ากันป่านนี้ฉันก็สร้างบ้านสร้างตึกเป็นล้านไปแล้วสิ!!” แต่แม่บอกใครเค้าก็ไม่เชื่อที่แม่พูดแม่ก็บอกว่าไม่เชื่อก็ดูบ้านสิถ้ารัสเซียเอาเงินมาให้จริงคงไม่อยู่บ้านกระท่อมแบบนี้หรอกถ้ามีเงินจริงๆคงไม่อยู่แล้วที่สันป่าตองนี่
เพียรผจง: แล้วแม่เคยเล่าให้พ่อฟังไหมว่ามีคนมาถามแบบนี้ว่าได้เงินไหมได้เงินเท่าไหร่
พนิดา: ไม่รู้นะมันอาจจะจำไม่ได้ว่าคุยหรือไม่คุยแต่แม่ก็ไม่อยากพูดถึงเรื่องอะไรพวกนี้แล้วด้วยไงมันเหมือนมันเจ็บในใจลึกๆมันก็ตกตะกอนไปแล้วก็ไม่อยากรื้อฟื้นมันขึ้นมาอีกถ้าพูดขึ้นมาตะกอนมันก็จะฟุ้งขึ้นมาอีกแม่ก็ไม่อยากจะพูดถึงมันอีก
เพียรผจง: ตะกอนนี่หมายถึงอะไร
พนิดา: ก็หมายถึงเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วมันกระทบแม่ไงแล้วแม่จะพูดเป็นครั้งสุดท้ายนะแม่ถึงไม่อยากให้ลูกเป็นแบบนี้...(เริ่มร้องไห้)
เพียรผจง: แม่! ลูกไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ซะหน่อย
พนิดา: ไม่ใช่ฟังก่อนแม่หมายถึงถ้าเกิดลูกไปขัดแย้งกับเค้าเนี่ยะมันไม่มีทางหรอกมันทำอะไรไม่ได้สักอย่างแม่ไม่อยากให้มันเกิดขึ้นกับแม่อีกครั้งหนึ่งบางทีแม่พอแม่คิดถึงเรื่องอะไรขึ้นมาแม่ก็จะหนาวขึ้นมาเลยมันรู้เย็นเฉียบขึ้นมาทันทีเลยตั้งแต่ที่เกิดเรื่องกับพ่อแม่ยังไม่เคยรู้สึกแบบนั้นเลยแต่พอแม่กับลูกขัดแย้งกันแม่ก็รู้สึกหนาวยะเยือกขึ้นมาเลยเค้าว่า “หนาวในใจ”
แม่ไม่รู้สึกเสียใจอะไรนะแต่แม่กลัวรู้สึกหวาดกลัวว่ามันจะเกิดขึ้นอีกครั้งแม่ไม่อยากให้มันเกิดขึ้นอีกเข้าใจไหม (ร้องไห้หนัก) แม่ถึงบอกแม่ไม่อยากได้ทนายความแม่ไม่อยากได้นักการเมืองเพราะแม่กลัวหนึ่งคือแม่ไม่ชอบสองคือแม่กลัวกลัวว่ามันจะเกิดขึ้นอีกเวลาที่ลูกถามว่าแม่รู้สึกยังไงเสียใจไหมแม่ถึงบอกว่าแม่ไม่รู้แต่พอคิดถึงว่ามันจะเกิดขึ้นอีกครั้งแม่รู้สึกขึ้นมาเหมือนมีอาการทางจิตแบบนั้นเลยกลัวว่ามันจะเกิดขึ้นกับลูกอีกแล้วชีวิตเราจะเป็นยังไงต่อไปอย่างพ่อในที่สุดก็รู้ตัวว่าทำอะไรไม่ได้แล้วพอเรากลายเป็นครอบครัวขึ้นมาแบบนี้เค้าก็คงคิดได้ตั้งแต่กลับมาจากพิษณุโลกพ่อก็ไม่พูดถึงเรื่องการเมืองอะไรแบบนั้นอีกเลยแม่คิดว่าตอนที่โดนจับไปที่พิษณุโลกก็คงโดนกระทำหนักหนาเอาการเพียงแต่พ่อเค้าไม่พูดให้แม่ฟังเฉยๆก็คิดดูตอนแม่ไปเจอผอมหัวโตซี่โครงบานขนาดนั้น (เริ่มหัวเราะ) พวกเพื่อนๆพ่อเค้ายังบอกเลยถ้าแม่ไม่ไปอาละวาดพวกเค้าคงไม่ได้กินข้าวกินน้ำเหมือนคนปกติมันก็คงพอๆกับไปติดคุกขี้ไก่นั่นแหละพ่อเค้าไม่ได้เล่าให้แม่ฟังหรอกแต่แม่รู้แหละ
เพียรผจง: โอเคงั้นอยากถามว่าในตอนที่เค้ามีขบวนการเคลื่อนไหวกันช่วงปี 19-21 แม่ก็คิดอยู่แล้วเหรอว่ายังไงก็ไม่มีทางเป็นไปได้
พนิดา: ไม่ใช่แม่ไม่ได้คิดอะไรทั้งนั้นแหละตอนนั้นไม่ได้สนใจอะไรเลยข่าวออกยังไงก็รับรู้ไปตามนั้น
เพียรผจง: แม่ไม่ได้คิดว่ามันจะมาเกี่ยวข้องกับชีวิตตัวเองได้ยังไง?
พนิดา: ใช่เป็นแบบนั้นเพราะตอนที่เค้าฆ่ากันตายนะแม่ยังเรียนอยู่เลยปี 16-17 ใช่ไหมแม่ยังต้องหยุดเรียนกลับบ้านกลางคันเลยตอนนั้นก็รู้แค่ว่าเค้าจะฆ่านักศึกษานั่นแหละก็เลยต้องหยุดเรียนกลางคันแยกย้ายกลับบ้านนักศึกษาอยู่รวมกันในหอหญิงถ้ามีคนบุกเข้ามาก็คงโดนฆ่าตายกันหมดใครจะลุกขึ้นมาสู้ล่ะ
เพียรผจง: ตอนนั้นที่บอกว่า “เค้า”จะฆ่านักศึกษา “เค้า” ที่พูดถึงนี่ใคร
พนิดา: (หัวเราะ) ก็ไม่รู้ไงไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรสักอย่าง
เพียรผจง: แล้วเค้าบอกว่ายังไงตอนนั้นที่บอกว่าให้นักศึกษากลับบ้าน
พนิดา: ก็ตอนนั้นไงที่นักศึกษาไปชุมนุมกันแล้วทหารก็มายิงกราดที่ชุมนุมส่วนแม่ก็มาเรียนที่พิษณุโลกนี่ไงไม่ได้มีส่วนไปร่วมชุมนุมอะไรกับเค้าถ้าเรื่องนี้ต้องถามน้าอิ๊ดนั่นเค้าอยู่ในเหตุการณ์จริง
เพียรผจง: แล้วตอนนั้นที่แม่เรียนอยู่รับรู้เหตุการณ์ว่ายังไงตอนที่เค้ามาบอกว่าทำไมต้องกลับบ้าน
พนิดา: ก็ตอนนั้นแม่อยู่หอพักแล้วอาจารย์รองอธิการบดีท่านก็รู้เหตุการณ์บ้านเมืองดีก็เลยประกาศให้นักศึกษากลับบ้านดีกว่าไปรวมตัวกันอยู่ตรงนั้นเค้าก็ไม่ได้ประกาศอะไรโจ่งแจ้งแต่ก็ให้อาจารย์ประจำหอพักมาบอกว่าอนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วเวลาเดินทางก็อย่าแสดงตัวว่าเป็นนักศึกษาเพราะว่าตอนนั้นเค้าฆ่ากันตายไปแล้วคนที่ยังอยู่ก็หนีแตกกระเจิงไปหมดใครมาเดินเป็นนักศึกษาเดี๋ยวก็จะโดนจับไปไม่รู้อิโหน่อิเหน่นี่แหละแม่ก็เลยต้องนุ่งผ้าถุงจากมศว. มาถึงเชียงใหม่ (หัวเราะ) ไม่ให้เค้ารู้ว่าเป็นนักศึกษาแล้วตอนนั้นเค้าว่ายังไงก็ว่าตามนั้นน่ะแหละไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรสมัยนั้นกับสมัยนี้มันต่างกันนะอย่างแม่ก็สนุกสนานเฮฮาไปตามวัยนะแหละแต่จะให้ไปยุ่งเรื่องการเมืองอะไรแบบนี้ก็ไม่มีหรอกแล้วยิ่งมศว. ที่พิษณุโลกก็ไม่ได้เข้มแข็งเหมือนที่กรุงเทพไม่ได้มีแกนนำอะไรแบบนั้นคนเค้าก็ไม่ทำกันหรอก
เพียรผจง: แม่เล่าเรื่องที่แม่ต้องไปนั่งเผาหนังสือให้ฟังหน่อยได้ไหม
พนิดา: ตอนนั้นแม่ก็จำไม่ค่อยได้แต่ว่ามันก็เริ่มมีข่าวลือแล้วแหละว่ามีคนโดนจับตัวไปตอนนั้นพ่อก็ไปเรียนต่อแล้วแต่เค้าก็ทิ้งหนังสือไว้ลังสองลังตอนนั้นคนอื่นเค้าก็รู้ข่าวก็ลือกันแล้วว่าพ่อโดนจับไปโดนอุ้มหายมีแต่แม่นี่แหละที่ไม่รู้
เพียรผจง: อันนี้คือก่อนที่แม่จะไปตามหาพ่อที่พิษณุโลกเหรอ
พนิดา: เอ...รู้สึกว่าจะก่อนนะแล้วก็มีเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งมาคุยกับแม่บอกเป็นทำนองว่าพ่อนี่เค้าหัวเอียงซ้ายนะแม่พอจะรู้ไหมว่าพ่อเค้ามีหนังสือมีเอกสารอะไรรึป่าวที่เค้าติดต่อกันแม่ก็บอก “ไม่มีหรอกมันจะติดต่ออะไรกับใคร”
เค้าก็บอก “ไม่มีก็ดีแล้วแหละแต่หนังสือที่พ่อมีน่ะมันเป็นหนังสือพวกฝ่ายซ้ายถ้าพี่ทำลายได้ก็ทำลายเสียเถอะเพราะมันเป็นอันตรายกับพี่เดี๋ยวถ้าตำรวจมาจับพี่หนังสือพวกนี้ก็จะกลายเป็นหลักฐานพี่ก็จะพลอยโดนคดีไปด้วย” ด้วยความที่แม่ไม่รู้อะไรไงก็เลยเผาทิ้งให้หมดเลยตั้ง 2 ลังนะนั่งเผาที่หลังบ้านพักครูนั่นแหละค่ำมืดดึกดื่นก็นั่งเผาอยู่ค่อนคืนจนหมดมันก็ไม่มีใครมาทำอะไรแม่หรอกก็แค่เค้ามาบอกแบบนี้แหละก็ทำลายทิ้งไปเสียจะได้ไม่มีหลักฐานมาถึงตัวเราตอนที่พ่อเค้ากลับมาเค้าก็รู้แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไรแม่นะอะไรที่มันบอกว่านิยมฝ่ายซ้ายสมัยนั้นเค้าเรียก “ฝักใฝ่ฝ่ายซ้าย” แม่ก็เผาทิ้งไปหมดเลย
เพียรผจง: แม่คิดว่าพอพ่อเค้ากลับมาแล้วเค้าเป็นแบบไหนระหว่างแบบที่เชื่อมั่นในอุดมการณ์ของตัวเองอยู่แต่ก็ยอมรับว่าฝ่ายตัวเองเป็นผู้แพ้หรือว่าเป็นพวกที่แบบหันหลังให้อุดมการณ์ของตัวเองโดยเชื่อว่าตัวเองเดินทางผิด
พนิดา: อันนี้แม่ไม่รู้เลยตั้งแต่พ่อไปเรียนไปติดคุกอะไรกลับมาก็ไม่พูดถึงเรื่องพวกนี้อีกเลยจริงๆอาจจะเพราะกลัวเสียฟอร์มต่อหน้าแม่ก็ได้ (หัวเราะ) นี่เอาจริงตั้งแต่แม่บอกให้พ่อลาออกไปเรียนต่อนะพ่อจะเชื่อแม่แบบไม่เถียงสักคำเลยจริงๆปกติพ่อเค้าก็ไม่เถียงแม่อยู่แล้วนะแต่ว่าสิ่งที่พ่อทำน่ะมันทำลายทั้งตัวพ่อเองแล้วก็ทำลายแม่ด้วยแม่ไม่ได้หมายความว่าพ่อเป็นคนไม่ดีทำไม่ดีนะเพราะแม่ไม่รู้อะไรกะเค้าเลยก็อย่างที่บอกมีคนพูดถึงคอมมิวนิสต์ก็นึกถึงแค่คนผมซี่โครงบานเท่านั้นเองเค้าบอกว่ารัสเซียโหดกว่าแต่โหดยังไงก็ไม่รู้หนังสือที่พ่ออ่านแม่ก็ไม่เคยอ่านจำได้แต่หน้าปกเล่มนึง “การต่อสู้แบบกองโจรของเชเกวารา” นี่เชเกวารานี่เค้าใช้วิธีการต่อสู้แบบกองโจรนะเป็นไงนี่ขนาดไม่ได้อ่านนะ (หัวเราะ)
แต่พ่อเค้าก็รู้อยู่แล้วว่าแม่จิตอ่อนแต่แค่เค้าไม่เคยเห็นแม่กรี๊ดไปร้องไห้ไปกระทืบเท้าเร่าๆแบบที่เห็นตอนนั้นที่แม่ไปตามหาที่พิษณุโลกมาก่อนพออกมาแล้วเค้าก็คงสงสารแม่ก็ไม่พูดถึงอีกเลยก็คิดดูพื้นตรงนั้นมันเป็นไม้กระดานแม่กระทืบจนพื้นลั่นโครมๆๆจน “ผู้กองยัน” นะต้องมานั่งปลอบไอ้ทหารที่เป็นคนคุมอยู่ตรงนั้นยังพูดเลยว่า “เข้ามาได้ยังไงเนี่ยะใครปล่อยให้เข้ามาได้” แม่ก็บอกก็เดินเข้ามาเองนี่แหละประตูสังกะสีมันก็เปิดแง้มอยู่นิดนึงแม่ก็เดินเข้ามาเพราะเค้าบอกว่าอยู่ที่นี่แหละเค้าเรียก “โรงเรียนพลตำรวจ” อะไรสักอย่างแม่ยังคิดอยู่เลยโรงเรียนตำรวจบ้าอะไรรั้วสังกะสีแบบนี้อาณรงค์ก็โดนเหมือนกันที่เค้าเรียกบ้านการุณอะไรสักอย่างตรงสวนบวกหาดอาณรงค์เค้าคงไม่รู้ว่าแม่รู้แต่แม่ก็จำไม่ได้ว่ารู้มาจากไหนได้ยังไงแต่พวกที่ไม่ได้หนีเข้าป่าไปก็โดนหมดแหละที่เชียงใหม่ก็ไปตรงนั้นหมดแต่พ่อเค้าไปอยู่ที่พิษณุโลกไงก็เลยไปโดนที่พิษณุโลกหลังจากนั้นมาพอเรียนจบกลับมาทำงานสันติบาลก็ไม่ได้ตามรังควาญพ่อเค้าละนะพอหลังจากที่แม่กลับมาจากพิษณุโลกรอบนั้นแม่ก็ไม่ได้ไปอีกนะแล้วก็ไม่ได้ถามอะไรกด้วยจนกระทั่งพ่อเค้าเรียนจบกลับมานั่นแหละ
เพียรผจง: พอแม่กลับมาจากพิษณุโลกครั้งนั้นพ่อก็ยังเขียนจดหมายมาเหมือนเดิมเหรอ
พนิดา: ใช่ก็เขียนผ่านเซ็นเซอร์นั่นแหละแม่ก็ตอบไปตามปกติอย่างที่แม่เคยทำตอนหลังมาก็คงถึงเวลาได้ออกละมั้งหรือไม่ก็ผู้กองขี้เกียจขับรถไปรับไปส่งพ่อเค้าเรียนหนังสือ (หัวเราะ) ก็เลยปล่อยออกมาคือเค้าก็คงเห็นแหละว่ามันไม่ได้มีอะไรพ่อเค้าไม่ใช่แกนนำคนสำคัญอะไรแบบนั้นเป็นแค่ตัวปลายแถวเค้าคงนึกว่าพ่อจะเป็นคนติดต่อประสานงานอะไรแบบนั้นแต่ก็ไม่ใช่ก็เหมือนอย่างทุกวันนี้ดูสิพวกแกนนำก็หนีไปได้พวกลูกน้องปลายแถวติดคุกหัวโต
เพียรผจง: แล้วตอนนั้นที่แม่บอกว่าพ่อเค้าไปทำงานให้อาจารย์บุญเย็นนี่คืออะไร
พนิดา: แม่ไม่รู้ก็อย่างที่บอกพ่อเค้าไม่พูดอะไรเลยแต่ตอนนั้นที่มาบอกว่าจะหนีก็ไม่ได้บอกว่าจะหนีไปที่ไหนมารู้เอาทีหลังตอนที่อาณรงค์พาแม่ไปไงแม่ถึงได้รู้ว่าพ่อเค้าหนีไปอยู่บ้านอาจารย์บุญเย็นที่กรุงเทพแล้วนี่อาจารย์บุญเย็นเค้าก็ไม่ได้อยู่บ้านสุขสบายอะไรไปอยู่สลัมห้องเล็กกว่าห้องที่เรานั่งอยู่ตรงนี้อีกเหม็นน้ำเน่าน้ำครำอีกก็หนีไปเส้นสายอาจารย์บุญเย็นไงเค้าก็คงจะพาไปยัดไว้ที่นั่นเพราะจะไปไหนแบบเอิกเกริกก็ไม่ได้ไม่งั้นก็คงโดนจับกันอีกเป็นพรวนแต่ก็ไปได้คืนสองคืนเองมั้งอาณรงค์แวะมาที่บ้านถึงมาเห็นสภาพแม่ก็เลยถามว่าอยากจะไปตามหาพ่อไหมแม่ก็บอกว่าไปสิอยากไปก็เลยได้ไปไปแม่ก็ไปนอนอยู่ในสลัมนั่นแหละวันสองวันพ่อเห็นก็คงสงสารแม่มั้งก็เลยพากันกลับมามาอยู่ด้วยกันที่เชียงใหม่สันป่าตองนี่แหละแต่นี่เกิดก่อนที่พ่อจะไปเรียนต่อแล้วก่อนที่แม่จะย้ายไปบ้านกาด
Interviewer: Phianpachong Intarat
Interviewee: Panida Worrawong
Transcript Notes
None
Consider, given the gaps in her understanding of ideologies, what the Cold War might have meant to Panida Worrawong.
In light of Panida Worrawong’s testimony, consider whether the Cold War in Thailand was truly a clash of competing ideologies, or merely a clash of different perceptions of Communism and democracy.