Interview With Saguan (2nd)

In this second interview, Saguan further discusses his university days, his friendship with Sawad Intarat, and his political activities.

Tags & Keywords

This transcript is part of a group of transcripts.


Saguan and Sawad first met in their freshman year at the Chiang Mai Teachers’ College in 1954. Due to their underprivileged family background, they became closer through their striving and mutual support for each other’s education. Sawad became a part of Saguan’s family in Chiang Mai. Saguan recounted multiple personal anecdotes that showed a great degree of trust and friendship between them throughout their lives. He also explained how Sawad lived his two-world life where his political activism was concealed and separated from his personal life with his wife, Panida Wongsawad.

    Saguan then recounts further details about the Baan Tonkeaw incident. He described the rationale behind the GLTP’s seminar hosting at Baan Tonkeaw in 1975. His behind-the-scenes account illustrates the connections between the GLTP, a local political group, and other larger political movements at the national level, such as the National Student Center of Thailand.

บันทึกการพูดคุยทางโทรศัพท์กับสงวน พงษ์มณี

5 ธันวาคม 2564

ภูมิหลัง: ทำไมสวัสดิ์กับสงวนจึงสนิทกัน 

  • พ.ศ. 2507:  สงวนเป็นคนเชียงใหม่ สวัสดิ์สอบจากจังหวัดใกล้เคียง ทั้งสองคนเรียนจบม. 6 เดิม (เท่ากับม. 4  ปัจจุบัน) จากนั้นก็สอบเข้ามาเรียนที่วิทยาลัยครูในปีเดียวกัน สอบภาษาอังกฤษได้คะแนนไม่ค่อยดี จึงได้อยู่ห้อง 8 ด้วยกัน 

  • เด็กปีหนึ่ง ใส่กางเกงขาสั้น จะมีอยู่กลุ่มหนึ่งที่จับกลุ่มอยู่ด้วยกัน นั่งเล่นใต้ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งในวิทยาลัย เพราะมีชะตากรรมเดียวกัน คือไม่มีเงินกินข้าวกลางวัน ก็จับกลุ่มกินกล้วย กินขนมกันไป สวัสดิ์กับสงวนก็เป็นหนึ่งในนั้น 

  • สวัสดิ์เป็นคนที่หาเงินเก่งมาก เสาร์อาทิตย์ ต้องหางานทำตลอด ทำให้ไม่ได้ไปเรียนร.ด. รับจ้างถางหญ้าตามบ้านจัดสรร ได้เงินวันละ 8 บาท ทำ 2 วันก็ได้ 16 บาท ทั้งสองคนรวมกัน ก็ทำให้มีเงินกินข้าวพอไปทั้งอาทิตย์ ตอนนั้นเงิน 3 บาทก็สามารถกินอาหารสำหรับ 2 คนได้ 2 มื้อ 

    • พอถึงช่วงเมษา ก็จะมีงานปอย มีการจัดชกมวย เป็นมวย 3 ยก ชกก่อนเวลาคู่เอก ให้เงินยกละ 10 บาท 3 ยกก็ได้ 30 บาทถือว่าเป็นเงินก้อนใหญ่ สวัสดิ์ก็ไปต่อย จนวันนึง คู่ต่อสู้จะไม่ขึ้นชก เพราะเขาตัวเล็กกว่าสวัสดิ์มาก สวัสดิ์จึงบอกให้สงวนขึ้นชกแทน 

    • สงวนไปต่อยจนครั้งหนึ่งก็บาดเจ็บกลับมา สวัสดิ์กับเพื่อนอีกคนชื่อ พยุง อยู่เจริญ ไปบอกอาจารย์สุภาพ อาจารย์จึงห้ามไม่ให้ไปต่อยมวยอีก และให้เงินมา 300 บาท ซึ่งถือว่าเยอะมากตอนนั้น เอาไปเช่ารถขายไอศกรีมแทน 

  • ตั้งแต่สวัสดิ์มาอยู่เชียงใหม่ ไม่เคยพูดถึงเรื่องครอบครัวตัวเองที่ต่างจังหวัดอีกเลย จนกระทั่งวันหนึ่ง ไปเยี่ยมบ้านสงวนที่สารภีได้เจอกับแม่อุ๊ยคำผง แม่ของสงวน ก็ได้นับถือกันเป็นแม่ลูก เป็นพี่น้องกับลุงสงวน ใช้เวลาอยู่ด้วยกันจนเรียนจบวิทยาลัยครูตั้งแต่ปีพ.ศ. 2508-2510 เมื่อเรียนจบ ทั้งสองก็ได้บรรจุเข้าทำงานเป็นครูที่อำเภอหางดง 

  • ตอนนั้น ทั้งคู่ได้รู้จักกับครูฉไน จักคำมา คนหางดง ก็ได้แนะนำให้ทั้งคู่ไปเรียนที่ธรรมศาสตร์ ก็ไปสอบเรียนนิติศาสตร์ภาคค่ำได้แล้ว แต่หาวัดอยู่ไม่ได้ ก็เลยต้องกลับมาที่เชียงใหม่เหมือนเดิม 

  • ปี 2510 สงวนบวช สึกออกมาแล้วก็มาทำงาน แต่เศรษฐกิจไม่ดี ได้เงินเดือน 600 บาท ต้องผ่อนมอเตอร์ไซค์เดือนละ 300 กว่าบาท สรุปสิ้นเดือน เงินไม่พอใช้ ต้องไปกู้เงินมากินอยู่เดือนละ  300 บาท ตอนนั้นเขาจึงตัดสินใจสมัครไปรบที่เวียดนาม “ถ้าไม่ตาย กลับมาได้เงิน 8,000 บาท ถ้าตาย แม่ก็ได้ 40,000” ไปรบที่เวียดนามปีครึ่ง กลับมาได้เงิน 8,000 สงวนแบ่งให้สวัสดิ์ 2,000 บาท 

    • ตอนนั้น สวัสดิ์ไม่ได้ไป เพราะคลาดกันตอนเปิดรับสมัคร 

    • ต่อมาจะไปอีกรอบที่ลาว แต่สวัสดิ์ไม่ผ่านเกณฑ์ เพราะไม่มีประสบการณ์ ทางการจะรับเฉพาะคนที่เคยผ่านสมรภูมิเวียดนามมาแล้วเท่านั้น สงวนจึงตัดสินใจไม่ไปด้วย “ถ้าได้ไป คงไม่ได้กลับมาแล้ว คงตายกันหมด เพราะชุดนั้นไม่มีใครได้กลับมากันสักคน เค้าให้ไปขับเครื่องบิน t-28”

  • การไปรบที่เวียดนาม: ตอนนั้นเป็นโครงการของอเมริกา หาทหารรับจ้างไทย ไปรบที่เวียดนาม สงวนไปและกลับมาในปี 14 พร้อมกับความรู้สึกเกลียดชังอเมริกา เพราะได้เห็นว่าอเมริกามายกกำลังจากเราไป ใช้ทหารอาสาคนไทยให้ไประเบิดประเทศเพื่อนบ้าน เกิดความไม่เป็นธรรมต่อคนในประเทศดังกล่าว 

    • Justmac ควบคุมประเทศไทย

    • Youth… ทำการโฆษณาข่าวสารต่อต้านคอมมิวนิสต์ 

  • ต่อมา ปี 2515 สงวนก็แต่งงาน 

  • สวัสดิ์ตอนนั้นทำงานอยู่ที่บ้านแสนตอ อ.หางดง ซึ่งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำงานบนที่นาของส.ส.เชียงใหม่คนหนึ่งจากพรรคประชาธิปัตย์ชื่อ วรศักดิ์ นิมานันท์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินกว่า 600 ไร่ ในตอนนั้น ชาวนาทำนาและแบ่งผลผลิตกับเจ้าของที่นา 50:50 ในขณะที่ในภาคอีสานและภาคกลาง เจ้าของที่นาได้รับผลผลิตเพียง 1/3 เท่านั้น 

  • ตอนนั้น ชาวนาเลือกอินสอน บัวเขียว จากพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย 2517 อินสอนได้รับการเลือกตั้ง โดยการสนับสนุนของกลุ่มครูประชาบาลที่ทำงานกับชาวนา 

  • เข้าสู่การเมือง: สงวนมีคนที่รู้จักที่ได้เรียนธรรมศาสตร์และมีหนังสือหัวก้าวหน้ามาแนะนำตลอด จึงได้คุยกันเรื่องการเมืองตลอด เช่น หนังสือ เรื่องปีศาจ ของเสนีย์ เสาวพงษ์ จากนั้นก็เริ่มเคลื่อนไหว 

กลุ่มครูประชาบาลเพื่อประชาชนกับเหตุการณ์การล้อมเผาที่โรงเรียนบ้านต้นแก้ว ราว ๆ เดือนพ.ค.ปี 2518 

  • ตำแหน่ง: ชัชวาล นิลประยูร ประธาน, สงวน รองประธาน, สวัสดิ์ เลขา, ณรงค์ผู้ประสานงาน 

  • งานสัมมนาที่โรงเรียนบ้านต้นแก้ว สวัสดิ์เป็นเลขา ดูแลเรื่องประสานงานต่าง ๆ ส่วนประธานและรอง เป็นคนดูแลเรื่องเนื้อหา งานถูกประกาศเชิญชวนอย่างเปิดเผยโดยมีชื่อพ่อเป็นผู้รับผิดชอบอย่างโจ่งแจ้ง และรับราชการครูอยู่ตอนนั้น ในขณะที่สงวนเป็นนศ. มช. อยู่ 

  • งานนี้เป็นงานใหญ่ มีคนมานับร้อยคน และมีอาจารย์จากกรุงเทพมาให้ความรู้ ดร. บุญเย็น วอทอง (ซึ่งในที่สุดก็ได้ลี้ภัยไปที่ลาว จนกระทั่งเสียชีวิตที่นั่น) 

  • เนื้อหา: มาร์กซิส วัตถุนิยมวิภาษวิธี, หนังสือของอ. อนุต อาภาภิรมย์, หนังสือของฝ่ายซ้าย ”วิทยาศาสตร์สังคม” เป็นต้น  

  • ตั้งแต่หัวค่ำ มีการล้อมเผาจากกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ตำรวจตชด. ทหาร จำนวน 200-300 กว่าคน รถยนต์ของอ. บุญเย็น รถมอเตอร์ไซค์ของสงวนก็โดนเผา ตอนนั้นก็คือ ล้อมจากข้างนอก คนข้างในต้องปิดประตูขังตัวเองไว้ในโรงเรียนที่เป็นรูปตัว L คนที่ล้อมอยู่ข้างนอกก็คงรู้ว่าถ้าบุกเข้ามาก็คงจะโดนยิงสวนแน่ๆ จนตอนเช้ารุ่งสางก็ถูกจับ ค้นสถานที่พบปืนไม่มีทะเบียนซึ่งไม่มีใครยอมรับเป็นเจ้าของ แต่สงวนซึ่งมีปืนมีทะเบียนก็โดนยึดไป แต่สุดท้ายก็คืนให้ ตอนนั้น สวัสดิ์ สงวน และเพื่อนอีกคนหนึ่งก็ขังตัวเองอยู่ในห้องด้วยกัน 

  • ความเป็นมาของการจัดสัมมนา: กลุ่มครูประชาบาลเพื่อประชาชนได้เข้าไปร่วมกับศนท. ปีกที่ดูแลครู สวัสดิ์ซึ่งเป็นเลขาจึงอาสาจะจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ชาวนาและผู้สนใจในพื้นที่ดำเนินงานของตนเอง ในตอนแรกจัดที่บ้านสันผักหวานก่อน ต่อมาถึงงานที่สวัสดิ์เป็นผู้รับผิดชอบจึงจัดใหญ่ ก็ถูกเล่นงานเข้าอย่างจังอย่างที่เกิดขึ้น 

  • “คืนนั้น ถ้าพวกครูไม่มีสติ คงจะมีคนตายอย่างน้อย 10-20 คน”

  • ผลที่ตามมาจากการล้อมเผาในครั้งนั้น คือ สวัสดิ์ซึ่งมีชื่ออยู่ในประกาศจัดงานอย่างเปิดเผยก็ถูกเพ่งเล็งอย่างหนัก สวัสดิ์ปรึกษาหารือกับสงวน จนในที่สุดก็ต้องตัดสินใจออกจากราชการ  และมาเรียนต่อที่พิษณุโลก แต่ขณะนั้น สงวนเป็นนศ. จึงไม่ได้รับผลกระทบมาก ส่วนผู้นำชาวนาต่อมาถ้าไม่ถูกฆ่าตาย ก็หนีเข้าป่ากันไปหมด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึง ตุลา 19 มีผู้นำชาวนาและครูถูกฆ่าตายไป 27 คน 

  • ครูสังข์ทอง + พ่อหลวงอินถา ถูกยิงตายในวันเดียวกัน

  • “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” กิตติวุฒโท และ ทมยันตี + ดร. วัฒนา เขียววิมล ปลุกระดมให้เกลียดนักศึกษาผ่านวิทยุยานเกราะ ก่อนหน้าและนำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

  • ปี 2519: สงวนแต่งงานแล้วและมีลูกชายอายุ 2 ขวบกว่า ได้ไปร่วมชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ แต่เพราะลูกไม่สบายจึงพากันออกมาก่อนตั้งแต่วันที่ 3 ทำให้แคล้วคลาดหวุดหวิด แต่หลังจากที่ถูกลอบทำร้ายครั้งที่ 2 ก็ตัดสินใจหนีเข้าป่าไป พอสงวนออกจากป่ามา สวัสดิ์ก็แต่งงานกับพนิดาแล้ว 

  • สวัสดิ์และสงวนไม่กล้าคุยเรื่องการเมืองให้พนิดารู้ ตั้งแต่สงวนออกจากป่ามาก็ถูกเล่นงานตลอด ไม่กล้าไปเจอกันให้พนิดาเห็น กลัวว่าพนิดาจะเข้าใจผิดหรือตกใจต่าง ๆ นานา แต่ทั้งสองคนก็ยังแอบติดต่อกันเสมอ ๆ จนกระทั่งสวัสดิ์เสียชีวิตอย่างกะทันหัน  ก่อนที่สวัสดิ์จะเสีย ทั้งสองก็ขาดการติดต่อกันไปราว 3  เดือน จนวันสุดท้ายงานศพ ถึงได้รู้ สงวนเดินทางมาร่วมงานศพทั้ง ๆ ที่ใส่เสื้อลาย “การตายของสวัสดิ์ทำให้ลุงใจสลาย เป็นเรื่องที่เศร้ามาก” สงวนนั่งเผาศพอยู่กับไพทูรย์ จน 3 ทุ่มกว่า “hurt อย่างหนักเลย ต่อสู้มาด้วยกัน ผ่านอะไรมาด้วยกันมากมาย ทำไมจากไปง่ายดายอย่างนี้”

    • “พ่อของหนูมีใจเป็นนักปฏิวัติ ใจของเขาอยู่กับชาวบ้านตลอดเวลา แม้ว่าตัวจะอยู่บ้านกับลูกกับแม่ของลูกก็ตาม”  

    • ตอนปี 31 ที่สวัสดิ์เสียชีวิตลง สงวนทำธุรกิจรับจ้างทำสนามกอล์ฟอยู่ ไม่ได้รับราชการครูแล้ว 

  • หลังออกมาจากป่ากันแล้ว สวัสดิ์ก็มักจะมานั่งคุยทบทวนชีวิตกันกับเพื่อนอยู่เสมอ สวัสดิ์เป็นคนที่อยากเรียนหนังสือแต่ไม่มีเงิน 

  • เมื่อถามว่าสวัสดิ์และสงวนเสียใจหรือไม่ หลังจากที่เกิดเรื่องร้าย ๆ กับตัวเองนับไม่ถ้วน เพราะการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพวกเขา สงวนตอบว่า “ไม่เคยเสียใจที่เคยได้ทำในวันนั้น เพราะเราได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว” ยกตัวอย่างที่โปแลนด์ซึ่งคนรุ่นหลังยกย่องว่าการที่ช่วยคนยิวนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว “ชาวนาต้องการแบ่งข้าวให้เหมือนที่ภาคกลาง เป็นเรื่องผิดตรงไหน” 

  • เมื่อถามว่าอยากเปิดเผยแค่ไหน: “ไม่มีอะไรต้องสูญเสีย ประวัติศาสตร์ไทยมีแต่เรื่องของเจ้าของนาย กษัตริย์การรบของผู้ชนะ ไม่มีเรื่องการกินการอยู่ของผู้คน”

  • “สวัสดิ์มีอย่างนึงที่เราไม่เคยทำได้คือ การแบ่งภาค สวัสดิ์รักแม่ของหนูมาก ไม่กล้าทำให้ผิดหวัง เมื่อก่อนตอนมาเที่ยวบ้านลุงที่สารภี ก็ชอบแวะไปหาแม่ด้วย ขี่มอไซค์ไปคนเดียว ไม่ยอมให้เพื่อนตามไป เพื่อนก็โห่แซวทุกครั้งไป แม้จะมาอยู่ที่บ้านลุง กินนอนด้วยกันแล้ว ก็ไม่ยอมบอกแม่ว่ามาอยู่ที่สารภีบ้านลุง ถ้าใครพูดถึงชื่อแม่ขึ้นมา พ่อก็จะลุกกลับบ้านทันที เขาเกรงใจแม่ของหนูขนาดนั้น” 

  • เกี่ยวกับสวัสดิ์ : มีครั้งหนึ่ง สมัยที่เรียนวิทยาลัยครู จะต้องสอบติดๆ กัน 3-4 วัน เงินไม่มีกินข้าวเพราะต้องเอาไปซื้ออุปกรณ์อะไรต่าง ๆ มีกล้วยเหลืออยู่ 1 เครือก็ค่อย ๆ กินกันไปแบบนั้น “ความรู้สึกเท่าเทียมกับคนอื่นมันเลยไม่มี ไม่กล้าจีบสาว เพราะรู้สึกว่าไม่มี แต่เราทุกคนไม่รู้สึกหดหู่ เราก็สนุกสนานอดทนกันไป” 

    • “สวัสดิ์เป็นคนที่ดีมากในสายตาพวกเรา แข็งแรง เป็นนักกีฬา อดทน เป็นแบบอย่างที่ดี ถ้าเขาหาเงินได้ 10 บาท ไม่มีทางที่คนคนนี้จะกินคนเดียวทั้ง 10 บาท จะต้องมีส่วนของเพื่อนพี่น้องที่ลำบากอยู่ด้วย” 

    • “เขาไม่พูดถึงครอบครัวเลย ตั้งแต่มาอยู่วิทยาลัยครูก็ไม่เคยกลับบ้านที่ต่างจังหวัดอีกเลย อยู่ที่นี่ดีกว่าอยู่ที่นั่น คนที่นี่เห็นเขาเป็นนักศึกษา เป็นครู เป็นนักกีฬา ใช้ชีวิตช่วยคนอื่นเป็นหลัก “เขาไม่สนใจว่าใครจะรักหรือเกลียดเขา เขาใช้ชีวิตของเขาเป็นอิสรชน แบบนั้น” 

  • การเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาบาลเพื่อประชาชน: การเคลื่อนไหวต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา ปี 18 เป็นงานแรก ต่อมาคือ เคลื่อนไหวเรื่องกฎหมายค่าเช่านา ซึ่งชาวนาในภาคเหนือไม่ได้รับความเป็นธรรม “พ่อยังต่อสู้มากกว่าลุงอีก ตอนแรกลุงยังไม่เห็นภาพ แต่สวัสดิ์อธิบายได้ชัดมาก เขาถามว่าทำไมกฎหมายค่าเช่านาที่บังคับใช้ที่ภาคกลาง จึงไม่สามารถใช้ที่ภาคเหนือได้ หรือเป็นเพราะเจ้าของที่นาที่นี่เป็นส.ส.” “การแบ่งข้าวให้ชอบธรรมเป็นประชาธิปไตย แล้วทำไมการเคลื่อนไหวเพื่อความชอบธรรมนี้จึงกลายเป็นเรื่องผิดบาปไปได้” 

  • ธเนศ เจริญเมืองได้กล่าวปราศรัยทำให้ครูถึงกับตาสว่าง บอกว่า “เงินเดือนครูยังถูกกว่ายกทรงกางเกงใน” 

  • ต่อมามีกระแส “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” โดย พระกิตติวุฒโท ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวไม่มีทางเลือก ต้องจับอาวุธลุกขึ้นสู้ 

Interviewer: Phianphacong Intarat

Interviewee: Saguan

Tags & Keywords


Transcript Notes


  1. Sawad Intarat is the interviewer’s late father.

  2. While the precise details of the Baan Tonkeaw incident such as the scale of the violence, the number of assaulters, and the weapons of attack, etc. remain unclear, we have kept the numeric detail of the evidence, i.e. the number of bullet shells on the scene as it is because this is what he recalled.

  1.  Consider the role played by personal networks and relationships in how political actors like Saguan navigated the Cold War in Thailand.

  2. What does Sagan’s revelation that local political groups were connected to larger national movements suggest about the nature of Thailand’s Cold War? Consider the implications of this for the study of the Cold War in Asia.