Interview With Saguan (3rd)

In this third interview, Saguan discusses the Group of Local Teachers for People in detail.

Tags & Keywords

This transcript is part of a group of transcripts.


Saguan begins by discussing the genesis and activities of the Group of Local Teachers for People. It was founded through the personal connections between local teachers in Hang Dong District, Chiang Mai. Their focal point of contact was the family of Insorn Buakeaw, an SPT representative from Chiang Mai. The GLTP faced a turning point in 1975, increasing its presence in the local community when student activists began to be murdered. The united leftist front had to change its tactics, sending local teachers who were already present in the area to work with the locals.

    On the Baan Tonkeaw incident in 1975, Saguan revealed some anecdotes that led him to believe that the GLTP was betrayed by one of its members. He also discussed the aftermath of the 6 October 1976 Massacre. He decided to join the Communist Party of Thailand after surviving 2 assassination attempts. He returned from the jungles under the amnesty program run by PM Prem Tinsulanonda’s administration in 1981. From then, his political activism shifted towards parliamentary politics.

========

สัมภาษณ์สงวน พงษ์มณี

5 กุมภาพันธ์ 2565

ณ บ้านพัก จังหวัดลำพูน

บันทึกโดย เพียรผจง อินต๊ะรัตน์

กลุ่มประชาบาลเพื่อประชาชน

  • การเลือกตั้งในปี 2517 มีลูกของครูอ้าย บัวเขียว ชื่อ อินสอน บัวเขียว ชนะการเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. เชียงใหม่ จากการสนับสนุนของชาวนาและครูในพื้นที่ ครูอ้าย เป็นครูใหญ่ในเขตพื้นที่ที่สวัสดิ์กับสงวนทำงานอยู่ ทั้งสองคนนับถือครูอ้ายมาก จึงไปช่วยงานการเมืองให้อินสอน ต่อมา อินสอน ลาออกจากการเป็นส.ส. ให้ อ.บุญสนอง บุญโยทยาน มาลงแทน สวัสดิ์และสงวนก็ได้ช่วยต่อ ดร.บุญสนอง ไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่เขาและภรรยาก็มีอิทธิพลทางความคิดต่อทั้งสงวนและสวัสดิ์ 

  • หลังการเลือกตั้ง และอินสอนได้เป็นส.ส. มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สำคัญ คือการก่อตั้งสหพันธ์ชาวไร่ชาวนาภาคเหนือ ซึ่งเป็นสาขาของสหพันธ์ชาวไร่ชาวนาแห่งประเทศไทย อินสอน, สวัสดิ์, สงวน, และณรงค์ได้คุยกันและเห็นสมควรจัดตั้งองค์กรทางการเมืองของครู เพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์ของครูให้เหมือนสหพันธ์ชาวไร่ชาวนา 

  • ณรงค์เป็นผู้ประสานงาน ให้ครูนักเคลื่อนไหวฝ่ายเหนือ คือ ชัชวาล นิลประยูร (จบรัฐศาสตร์ ม.ช. แต่มาเป็นครู) ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ทางตอนเหนือของเชียงใหม่ ได้มาพบกับ สงวนและสวัสดิ์ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ทางใต้ของเชียงใหม่ และเกิดเป็นกลุ่มที่ต่อมาตั้งชื่อว่า “ประชาบาลเพื่อประชาชน” (ปป.)

    • ชัชวาล เป็นประธาน

    • สงวน รองประธาน

    • สวัสดิ์ เลขา

    • ณรงค์ ผู้ประสานงาน

  • ในช่วงแรก นศ. เข้าไปในพื้นที่เพื่อทำงานทางความคิดกับชาวนาของสหพันธ์ แต่เมื่อถึงปี 18 มีนศ. ถูกฆ่าตายที่อีสาน (อมเรศ ไชยสะอาด ตามข่าวบอกว่าก.พ. ปี 19 ซึ่งมีนศ.ที่ถูกทำร้ายเสียชีวิตก่อนหน้านั้นแล้วหลายคน) แนวทางการดำเนินงานจึงเปลี่ยนเป็นให้ครูเข้าไปในพื้นที่แทน เพราะครูอยู่ในชุมชนอยู่แล้ว จะเคลื่อนไหวได้สะดวกมากกว่า ในพื้นที่ภาคเหนือ จึงให้กลุ่มประชาบาลเพื่อประชาชน ทำงานในพื้นที่แทนนักศึกษา 

  • สหพันธ์ชาวไร่ชาวนา ในพื้นที่บ้านแสนตอ อ. หางดง มีที่ดินของส.ส. วรศักดิ์ นิมานนันท์ กว่า 600 ไร่ ซึ่งผู้เช่านาต้องจ่ายค่าเช่านาในอัตรา 50/50 แทนที่จะเป็น 2:1 ตามที่กฎหมายค่าเช่านาได้ออกไว้ ซึ่งบังคับใช้ทั่วประเทศยกเว้น 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน สวัสดิ์และสงวนจึงศึกษาบทเรียนของทั้งประเทศ และ วางแผนให้ชาวนาได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนั้น ต่อมาเมื่อชาวนาเรียกร้องเช่นนั้น เจ้าของที่ดินก็ต้องยินยอมตามไปด้วย แต่ผู้ที่เสียผลประโยชน์ก็ได้โต้กลับ ด้วยการขึ้นป้ายขับไล่ผู้นำชาวนาและครูจากกลุ่ม ปป. ด้วยข้อหาที่ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ 

  • พระกิตติวุฒโท ออกมาเทศน์ว่า ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป ทำให้กระแสความรุนแรงต่อฝ่ายซ้ายเพิ่มขึ้น

  • พ่อหลวงอินถา ครูสังข์ทอง ถูกสังหารในวันเดียวกัน ในช่วงก่อน 6 ตุลา 19 มีครูถูกสังหาร1 คน ผู้นำชาวนาในภาคเหนือถูกสังหารไปถึง 27 คน ซึ่งตอนหลังมาทราบมาว่ามากกว่านี้

เหตุการณ์บ้านต้นแก้ว

  • ท่ามกลางกระแสความรุนแรงของ ขวาพิฆาตซ้าย กลุ่ม ปป. เห็นว่าครูจำเป็นต้องประสานกับนักเคลื่อนไหวทั่วประเทศ จึงได้ร่วมสัมมนาที่โพธาราม จ.ราชบุรี มีนศ. ครู ชาวนา และมีอาจารย์หลายท่านเป็นวิทยากร 

  • มีการสัมมนาก่อนที่อ.หางดง  --- แล้วก็โพธาราม จฦราชบุรี แล้วก็กลับมาที่บ้านต้นแก้ว อีกที มีการเตรียมตัวล่วงหน้าราว ๆ 2 เดือน 

  • ผู้รับผิดชอบการจัดสัมมนาที่บ้านต้นแก้ว คือ เลขาฯของกลุ่ม ก็คือ สวัสดิ์ มีวิทยากรรับเชิญคือ อ.บุญเย็น วอทอง 

  • การจัดสัมมนาในครั้งนั้น ไม่ได้เป็นงานเปิด แต่ได้ส่งหนังสือเชิญถึงผู้นำชาวนา ครูต่าง ๆ นักวิชาการจากกรุงเทพ จำนวน 100 กว่าคน ร้อยละ 70 เป็นผู้นำชาวนา ในหนังสือเชิญที่ลงนามโดยสวัสดิ์ ได้มีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของการสัมมนา ได้แก่ 

    • 1. ทฤษฎีทางการเมือง วัตถุนิยมวิภาษวิธี เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ 

    • 2. ค.คิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ของ อนุช อาภาภิรมญ์

    • 3. วิวัฒนาการสังคมของโลก พูดถึงเรื่องอุดมการณ์

ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดนี้ ฝ่ายความมั่นคงของไทยรับไม่ได้ เพราะเป็นความคิดของนักปฏิวัติสำคัญ 2 คน คือ เหมาเจ๋อตุงและเลนิน เอกสารนี้ได้หลุดออกไปถึงฝ่ายความมั่นคงของไทย และสงวนเชื่อว่านั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ฝ่ายขวา ไม่สามารถปล่อยให้มีการสัมมนาต่อไปได้ และต้องทำลายงานก่อนที่เนื้อหาจะถูกเผยแพร่ 

  • รถยนต์ มอเตอไซค์ ของผู้เข้าร่วม ถูกเผาบ้าง หายไปบ้าง สงวนเล่าว่า คณะทำงานได้เข้ามาเตรียมพื้นที่ก่อนล่วงหน้า 1 วันแล้ว พอพลบค่ำ หลังจากที่ผู้เข้าร่วมรับประทานอาหารเย็นเสร็จจากเต้นท์กลางแจ้งแล้ว ก็ได้ย้ายเข้ามาสัมมนาต่อในตัวอาคาร พอเริ่มพูดได้ประมาณ 10 นาที กลุ่มลูกเสือชาวบ้านจังหวัดลำพูน และเชียงใหม่ พลเรือนฝ่ายขวาที่จัดตั้งโดยรัฐ ก็ได้บุกเข้ามา มากันเป็นคันรถ ใช้อาวุธปืนระดมยิงจากด้านนอก ซึ่งโชคที่ดีผู้เข้าร่วมอยู่ในอาคารที่มีความมั่นคง จึงเอาชีวิตรอดมาได้ 

  • กลุ่มครูสมาชิก ปป.ที่อยู่ด้านนอกที่เข้ามาไม่ทัน เช่น วิสุทธิ์ ณ เชียงใหม่และคนอื่น ๆ  ก็ต้องรีบหนีออกไปซ่อนตัวในหมู่บ้านด้วยความช่วยเหลือของชาวบ้าน และได้ถูกพากลับเข้ามาทางด้านหลังอีกครั้งด้วยความช่วยเหลือของชาวบ้านอีกครั้งหนึ่ง 

  • เหตุการณ์ปิดล้อมดำเนินไปจนกระทั่งประมาณ ตีสอง ก็เริ่มซาลง ราวๆ 6 โมงเช้าก็มีกองกำลังที่เปิดเผยตัวของรัฐไปพาออกมา 

  • สงวนและสวัสดิ์ได้เข้าไปเก็บปลอกกระสุนจำนวนมาก (ราว ๆ 600 ปลอก) จากที่เกิดเหตุ เพื่อใช้เป็นหลักฐานแก่เจ้าหน้าที่/นายอำเภอว่าการปิดล้อมที่บ้านต้นแก้ว เป็นความรุนแรงที่จัดตั้งโดยรัฐ เพราะในขณะนั้น ปลอกกระสุนที่พบคือ เอ็ม16 ซึ่งเป็นอาวุธสงครามที่ใช้เฉพาะในราชการเท่านั้น สงวนซึ่งเคยเป็นทหารผ่านศึกมาก่อนจึงรู้ดี เขาคิดว่านี่เป็นสาเหตุที่ทำให้สวัสดิ์และสงวนถูกเพ่งเล็งอย่างหนัก 

  • เมื่อมองย้อนกลับไป สงวนคิดว่างานสัมมนาที่ต้นแก้วไม่ใช่งานเปิด แต่พวกเขาก็เปิดเผยเนื้อหาของการสัมมนาด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพราะเชื่อว่าการศึกษาแนวคิดทางสังคมนิยมควรเป็นเสรีภาพทางวิชาการที่สามารถทำได้ 

  • บ้านต้นแก้วเป็นพื้นที่ของสวัสดิ์และณรงค์

  • ในขณะที่เกิดเหตุ คนข้างในก็เตรียมสู้ คนที่มีปืนป้องกันตัว ปืนที่ถูกฎหมายก็เอาปืนมาเตรียมไว้ (สมัยก่อนการพกปืนระหว่างเดินทางก็เป็นเรื่องปกติ ถ้าเป็นปืนที่มีใบอนุญาต) แม้ว่าหลังจากนั้นจะมีปืนที่ไม่มีทะเบียนอยู่ร่าว 6-7 กระบอกด้วยก็ตาม เมื่อตำรวจมาก็เข้ามา ให้คนที่มีปืนเอาปืนออกมา จากนั้นก็พาไปโรงพัก สงวนบอกว่าหางดง สันติบอกโรงพักกองเมือง---อาจจะโดนแยกสอบ?) ทั้งหมดถูกสอบอยู่ราว ๆ 5-6 ชั่วโมงก็ถูกปล่อยตัวออกมาก่อนพลบค่ำของวันนั้น 

  • ตอนหลัง กลุ่มแกนนำเชื่อว่ามีหนอนบ่อนไส้ เพราะมีสมาชิกกลุ่มที่เป็นครูคนหนึ่งได้กระโดดหนีออกไปทางหน้าต่างแล้วจากนั้นก็หายตัวไปจากวงเพื่อนสมาชิกกลุ่ม ปป. โดยสิ้นเชิง หลังจากที่ชีวิตของทุกคนพลิกผันจากเหตุการณ์ทางการเมือง เพื่อนครูผู้นี้ก็ได้รับการโยกย้ายข้ามเขตแบบไม่ธรรมดาจากอำเภอรอบนอกของจังหวัดเชียงใหม่ เข้ามาในตัวเมืองภายในการโยกย้ายครั้งเดียว ซึ่งถือได้ว่าเป็นเหมือนการได้เลื่อนตำแหน่ง สวนทางกับคนอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มและชีวิตต้องพลิกผันไปในทางตรงกันข้าม 

  • สงวนเล่าว่าหลังจากเหตุการณ์ที่บ้านต้นแก้ว กลุ่มปป. ก็ยิ่งขยายตัว แต่เคลื่อนลงไปใต้ดินแทน “การเคลื่อนไหนถึงเลือดถึงเนื้อมาโดยตลอด” ในงานศพของพ่อหลวงอินถา  กลุ่มปป. โดยสงวน สวัสดิ์และชัชวาลไปวางพวงหรีดที่เรียกเสียงฮือฮาจากนักข่าว เพราะบนหรีดนั้นเขียนไว้ว่า “เลือดต้องล้างด้วยเลือด” เหตุการณ์ที่ต้นแก้ว ทำให้กลุ่มคิดว่าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากลุกขึ้นสู้ เพราะอยู่เฉย ๆ ก็คงจะถูกฆ่าตายเป็นแน่ 

  • ในกลุ่มมีการพูดถึงความเป็นไปได้ที่จะเข้าป่า สวัสดิ์คิดว่าจะสู้อยู่ที่เดิม แต่เพื่อน ๆ มองเห็นแล้วว่าเขาไม่น่าจะอยู่ได้ คงจะต้องถูกฆ่าตายสักวันแน่ ๆ สวัสดิ์จึงลาออกจากราชการ และออกจากพื้นที่เพื่อไปเรียนต่อที่พิษณุโลก สงวนจำได้ว่าราว ๆ ปี 19 คือ สวัสดิ์ไม่อยู่ที่เชียงใหม่แล้ว 

  • หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 สงวนถูกควบคุมตัวในวันที่ 17 ตุลาคม เขาถูกควบคุมตัวอยู่ราว ๆ 1 เดือน และได้รับประกันตัวออกมาในปลายเดือนพฤศจิกายน และได้ไปสอบไล่วิชาสุดท้ายที่ม.ช. เมื่ออกมาแล้ว สงวนถูกยิงที่หน้าโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ได้รับบาดเจ็บที่ขา เขาหลบซ่อนตัวอยู่อีก 15 วัน แต่ก็ยังถูกลอบยิง ได้รับบาดเจ็บอีกครั้ง สงวนตัดสินเข้าเข้าป่าไปร่วมพคท. ในเดือนมกราคม 2520 เขาไม่ได้พบสวัสดิ์อีกเลยจนกระทั่งออกจากป่าในปี 2524

  • สงวนรู้ว่าสวัสดิ์ถูกควบคุมตัวที่พิษณุโลกหลังจากเขาราว ๆ 1 สัปดาห์ เพราะเขาเห็นข่าวนักเคลื่อนไหวถูกควบคุมตัวที่พิษณุโลก และในนั้นมีชื่อของสวัสดิ์อยู่ด้วย 

  • ในบรรดาสมาชิกกลุ่ม ปป. ทั้งหมด มีเพียงสวัสดิ์และสันติ ธรรมรักษาที่ไม่ได้เข้าป่าไป อันที่จริง ทางกลุ่มได้มีการพูดคุยกัน และเห็นร่วมว่าใครที่ยังสามารถปักหลักอยู่ในเมืองได้ก็ขอให้อยู่เพื่อทำงานในพื้นที่ต่อไป ซึ่งอยู่ในเมืองก็มีความเสี่ยงมากที่จะถูกสังหารทุกขณะ และไม่สามารถจับปืนได้โดยตรง มีอันตรายกว่าเพราะด้วยกระแสขวาพิฆาตซ้ายที่รุนแรงมากในขณะนั้น 

  • สงวนเล่าว่า หลังปี 19 กลุ่มปป.ที่เข้าป่าไป ก็ไปร่วมกับพคท. อย่างเต็มตัว ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินงานอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน 

    • ราบ 1 คือ ลำพูน เชียงใหม่ มีเลขาธิการ คือ สงวน ชัชวาล เป็นหนึ่งในคณะกรรมการ

    • ราบ 2  คือ ?? 

    • ราบ 3 เชียงราย อินทร, สมบัติ ณ สุนทร

ในขณะที่สวัสดิ์และสว่าง ได้เคลื่อนไหวเป็นแนวร่วมอยู่ข้างนอก/ในเมือง ด้วยเหตุนี้ การเคลื่อนไหวจึงได้รุนแรง เพราะมีเครือข่ายทั้งในและนอกป่า กลายเป็นกองกำลังติดอาวุธที่ต่อสู้กับรัฐ 

  • สงวนได้เข้าโรงเรียนการเมือง 7 สิงหา 

  • หลังจากป่าแตก อดีตกลุ่มปป. ก็ยังคงขับเคลื่อนอุดมการณ์ทางการเมืองอยู่ แต่เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นการต่อสู้ในระบบรัฐสภา สายหนึ่งที่เขาเข้าร่วมคือการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 (ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย--ผู้เขียน)  

  • ความภาคภูมิใจของสงวนในงานของกลุ่มปป. คือ กลุ่มสามารถปกป้องชีวิตของผู้นำชาวนาได้เป็นร้อย ๆ คน โดยไม่ถูกทำลายไป และปลุกกระแสให้ชาวนาในภาคเหนือได้ลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลและปกป้องสิทธิของตัวเอง 

Interviewer: Phianchapong Intarat

Interviewee: Saguan

Tags & Keywords


Transcript Notes


  1. Saguan’s and Santi Thamraksa’s (interview available) narratives about these personal connections complement each other.

  2. While the precise details of the Baan Tonkeaw incident such as the scale of the violence, the number of assaulters, and the weapons of attack, etc. remain unclear, we have kept the numeric detail of the evidence, i.e. the number of bullet shells on the scene as it is because this is what he recalled.

  1.  Consider the role played by personal networks and relationships in how political actors like Saguan and the GLTP navigated the Cold War in Thailand.

  2. Discuss, in light of the dangers and political persecution Saguan faced, how the micro historical narratives about individuals like himself are connected to the larger political history of Thailand, and transnational narratives of the Cold War in Asia.